วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

อยู่ต่างจังหวัด...อยากขายของทางอินเตอร์เน็ต

ในเมื่ออยู่ต่างจังหวัดแต่อยากขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ตเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเวลาว่างหลังเลิกงาน หรือทำอาชีพอิสระ หรือทำการเกษตรอยู่อยากขายของทางอินเตอน์เน็ตจะทำได้ไหม?

มีผู้คนมากมายที่อยู่ต่างจังหวังแต่อยากทำอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ บางคนปลูกผักขายตลาด บางคนรับจ้างตัดเย็บ บางคนทำอาชีพขายตรง แต่อีกหลายคนอยู่ในพื้นที่ที่ไม่สามารถติดต่อกับผู้คนจำนวนมากได้ อาจเนื่องจากระยะทางในการเดินทาง ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง หรือแม้กระทั่งจำนวนกลุ่มลูกค้าที่มีอยู่จำกัดเป็นต้น อีกทั้งบางคนก็ไม่ชอบการค้าขายที่ต้องทำการชักชวนให้ผู้คนมาซื้อสินค้า หล่าวคือไม่เก่งทางการสื่อสารด้วยการพูดคุยนั่นเอง

ในปัจจุบันอินเตอร์เน็ตได้แพร่หลายและสามารถใช้งานได้สะดวกในทุกพื้นที่ผู้ที่สนใจจำค้าขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ตไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ใดก็สามารถดำเนินการขายสินค้าได้สะดวก เพียงทำการนำสินค้าขึ้นวางในร้านค้าทางอินเตอร์เน็ต รับออร์เดอร์หรือคำสั่งซื้อจากลูกค้า เช็คยอดเงินที่ลูกค้าโอนให้ และจัดส่งให้แก่ลูกค้า

สินค้าที่สามารถนำมาจัดจำหน่าย ก็สามารถนำมาจากสินค้าในพื้นที่ได้ ทั้งสินค้า OTOP ในพื้นที่ กลุ่มแม่บ้าน หรือแม้กระทั่งผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรต่างๆ อาทิ เมล็ดพันธุ์พืช สมุนไพร เป็นต้น

การนำสินค้าจัดจำหน่ายทางอินเตอร์เน็ต ผู้ขายสามารถสร้างหน้าร้านโดยใช้เว็บไซต์ของตนเองโดยการเช่าพื้นที่และจดชื่อเว็บไซต์เป็นของตนเอง ซึ่งอาจอาจออกแบบเว็บไซต์เอง หรือใช้เว็บไซต์สำเร็จรูปก็ได้ กรณีนี้จะเสียค่าใช้จ่ายแบบถูกที่สุดประมาณ 1000 บาท และแบบแพงๆ ก็ถึงหลักหมื่น หลักแสน

นอกจากจะทำเว็บไซต์ของตนเองแล้วผู้ขายสามารถเปิดร้านโดยใช้ร้านค้าออนไลน์ที่มีผู้เปิดให้ใช้ฟรีได้ โดยเว็บไซต์เหล่านั้นจะสร้างร้านค้าสำเร็จรูปไว้แล้ว เราจะทำเพียงการนำสินค้าขึ้นวางจำหน่าย และบอกคุณสมบัติต่างๆ ของสินค้าและรายละเอียดต่างๆ ในการจำหน่ายและจัดส่ง ซึ่งก็จะช่วยประหยัดเงินสำหรับผู้ค้าขายระดับเริ่มต้น ร้านค้าฟรีเหล่านี้สามารถ search หาได้โดยใช้ google ช่วยในการค้นหา

นอกจากนี้เราไม่เพียงสร้างร้านค้าออนไลน์ได้เท่านั้น หากแต่เราสามารถสร้างร้านค้าออนไลน์ในหลายๆ ที่เพื่อให้ลูกค้าได้มีโอกาสได้เห็นสินค้าเราได้บ่อยขึ้น ไม่ว่าพวกเขาจะเข้าไปชมเว็บไซต์ใดๆ

ต่างๆ เหล่านี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับผู้คิดจะเริ่มต้นขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ต แต่ห่วงเรื่องการอยู่ในพื้นที่ห่างไกลและอาจสู้กับคู่แข่งลำบาก ผู้เขียนเคยสั่งซื้อสินค้าชนิดหนึ่งที่ต้องใช้เป็นประจำทั้งๆ ที่สินค้านี้มีจำหน่ายมากมายในกรุงเทพฯ แต่ผู้ขายเจ้าประจำที่สั่งซื้อกลับอยู่ต่างจังหวัด สาเหตุคือสินค้าของผู้ขายเจ้านี้จัดส่งเรียบร้อย และมีการตอบรับการสั่งสินค้ารวดเร็วกว่าเจ้าอื่นๆ ดังนั้น ปัจจัยสนับสนุนการขายสินค้าไม่ใช่เพียงระยะทาง หรือราคาเท่านั้น แต่มีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้เราสามารถขายสินค้าได้เพียงเรานำสิ่งที่มีมีอยู่มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในงานขายของเราให้ได้เท่านั้น

ครั้งหน้าจะมาดูวิธีการหาสินค้ามาจำหน่ายกันค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ปัญหาของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Main problems for SMEs)

ปัญหาของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Main problems for SMEs)

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้เก็บรวบรวมข้อมูลและดำเนินการศึกษาวิจัยในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา พบว่าปัญหาโดยรวมของ SMEs ที่ประสบอยู่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาพอจะสรุปโดยสังเขปได้คือ (สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เครือข่ายมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2548 : ออนไลน์)

ปัญหาด้านการตลาด
วิสาหกิจขนาดกลางและย่อมส่วนใหญ่มักตอบสนองความต้องการของตลาดในท้องถิ่น หรือตลาดในประเทศ ยังขาดความรู้ความสามารถด้านการตลาดในวงกว้างโดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ ขณะเดียวกันความสะดวกรวดเร็วในการคมนาคมขนส่ง ตลอดจนการเปิดเสรีทางการค้าทำให้วิสาหกิจขนาดใหญ่ รวมทั้งสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาแข่งขันกับสินค้าในท้องถิ่นหรือในประเทศที่ผลิตโดยกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมากขึ้น

ขาดแคลนเงินทุน
วิสาหกิจขนาดกลางและย่อมมักประสบปัญหาการขอกู้เงินจากสถาบันการเงินเพื่อมาลงทุนหรือขยายการลงทุน หรือเป็นเงินทุนหมุนเวียน ทั้งนี้เนื่องจากไม่มีการทำบัญชีอย่างเป็นระบบ และขาดหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ ทำให้ต้องพึ่งพาเงินกู้นอกระบบ และต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่สูง

ปัญหาด้านแรงงาน แรงงานที่ทำงานในวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อมจะมีปัญหาการเข้าออกสูง กล่าวคือ เมื่อมีฝีมือและมีความชำนาญงานมากขึ้น ก็จะย้ายออกไปทำงานในโรงงานขนาดใหญ่ที่มีระบบและผลตอบแทนที่ดีกว่า จึงทำให้คุณภาพของแรงงานไม่สม่ำเสมอและการพัฒนาไม่ต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพของสินค้า

ข้อจำกัดด้านการบริหารจัดการ
จุดเริ่มต้นของ SMEs ส่วนมากมักจะมีที่มาจากธุรกิจในลักษณะครอบครัว ซึ่งเป็นหน่วยสังคมที่โดยธรรมชาติแล้วจะมีความสามารถในการปรับเปลี่ยนและปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการต่างๆของกิจการ ได้ไม่รวดเร็วเหมือนอย่างกิจการที่มีพื้นฐานมาจากทุนที่อิสระ(จากครอบครัว)

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมักขาดความรู้ในด้านการจัดการ หรือการบริหารงานที่มีระบบ ใช้ประสบการณ์จากการเรียนรู้โดยเรียนถูกเรียนผิดเป็นหลัก อาศัยบุคคลในครอบครัวหรือญาติพี่น้องมาช่วยงาน การบริหารในลักษณะนี้แม้มีข้อดีในเรื่องการดูแลที่ทั่วถึงหากธุรกิจไม่ใหญ่นัก แต่เมื่อกิจการเริ่มขยายตัวหากไม่ปรับปรุงการบริหารจัดการให้มีระบบก็จะเกิดปัญหาขึ้นได้

ในกรณีธุรกิจของครอบครัวที่ดำเนินธุรกิจก้าวมาถึงจุดที่ต้องการขยายตัวขึ้น ข้อจำกัดที่จะพบอยู่เสมอก็คือการปรับระบบการทำงานที่ไม่ทันกับความเปลี่ยนแปลงของปัจจัยแวดล้อมต่างๆที่ขยายใหญ่และเติบโตขึ้นขององค์กร ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญของการแข่งขันทางธุรกิจในยุคสมัยที่ต้องการการปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและกระจายความรับผิดชอบในการบริหารจัดการ

ข้อจำกัดอีกประการหนึ่งของการบริหารจัดการในธุรกิจ SMEs ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับการบริหารจัดการแบบครอบครัวแฝงอยู่ด้วยก็คือ ปัญหาการหมุนเวียนเข้า-ออกของแรงงานที่อยู่ในระดับสูง ทั้งนี้เนื่องจากแรงงานที่มีฝีมือและมีความชำนาญสูงมักจะเคลื่อนย้ายไปสู่ธุรกิจและอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่กว่าด้วยเหตุผลในเรื่องของผลตอบแทนและโอกาสที่ดีกว่าในแง่ความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ซึ่งส่งผลให้ SMEs จำเป็นต้องมีต้นทุนและความเสียหายอันเกิดจากการต้องเร่งพัฒนาฝีมือแรงงานใหม่เพื่อให้ทำงานได้ตามเกณฑ์มาตรฐานและมีความชำนาญพอเพียงอยู่ตลอดเวลา

เทคโนโลยีการผลิต
จุดเริ่มต้นของ SMEs โดยส่วนใหญ่อีกประการหนึ่งคือ การเริ่มต้นธุรกิจมาจากการใช้เทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อน การผลิตรวมถึงการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าและผู้ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจ จะอาศัยความชำนาญเฉพาะด้านและปัจจัยทางภูมิศาสตร์หรือทำเลที่ตั้งกิจการที่ใกล้เคียงกับกลุ่มลูกค้าและผู้ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจเป็นจุดแข็งในการดำเนินงาน

โดยทั่วไปวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมักใช้เทคนิคการผลิตไม่ซับซ้อนเนื่องจากการลงทุนต่ำ และผู้ประกอบการ พนักงานขาดความรู้พื้นฐานที่รองรับเทคนิควิชาการที่ทันสมัย จึงทำให้ขาดการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานที่ดี

แต่ในสถานการณ์จริง การขยายตัวทางธุรกิจไม่สามารถหลีกเลี่ยงการขยายตัวในด้านการผลิต ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของโรงงาน กระบวนการผลิตที่เปลี่ยนแปลงไป เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ทันสมัยขึ้น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการควบคุมกระบวนการผลิตทั้งในภาพรวมและหน่วยการผลิตย่อย และอื่นๆ ส่งผลให้คนงานที่มีความเคยชินกับวิธีการทำงานแบบเก่าจำเป็นต้องยกระดับความรู้ความสามารถในการใช้งานเทคโนโลยีที่สูงขึ้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัวได้ของคนงานแต่ละคนและประสิทธิภาพของการส่งเสริมอบรมพัฒนาความรู้ของ SMEs

ในขณะเดียวกันกับที่มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต จุดเด่นในเรื่องความแตกต่างของผลิตภัณฑ์อันเนื่องมาจากฝีมือและความชำนาญเฉพาะจากการผลิตในปริมาณในจำนวนไม่มากซึ่งเป็นจุดเด่นของ SMEs ก็อาจจะถูกลดทอนความเข้มข้นลงไปเนื่องจากการผลิตที่เข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมเต็มตัว

ปัญหาการเข้าถึงการส่งเสริมของรัฐ
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นจำนวนมากเป็นการจัดตั้งกิจการที่มีรูปแบบไม่เป็นทางการ เช่นผลิตตามบ้าน ผลิตในลักษณะโรงงานห้องแถว ไม่มีการจดทะเบียนโรงงาน ทะเบียนพาณิชย์หรือทะเบียนการค้า

ดังนั้นกิจการหรือโรงงานเหล่านี้จึงค่อนข้างปิดตัวเองในการเข้ามาใช้บริการของรัฐ หรือแม้แต่กิจการหรือโรงงานที่มีการจดทะเบียนถูกต้อง ก็มักไม่ค่อยอยากเข่ามายุ่งเกี่ยวกับหน่วยงานของรัฐ เนื่องจากปฏิบัติไม่ค่อยถูกต้องเกี่ยวกับการเสียภาษี การรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม หรือการรักษาความปลอดภัยที่กำหนดตามกฎหมาย

นอกจากนี้ในเรื่องการส่งเสริมการลงทุนก็เช่นเดียวกัน แม้ว่ารัฐบาลจะได้ลดเงื่อนไขขนาดเงินลงทุนและการจ้างงาน หรือจูงใจให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเสนอโครงการขอรับการส่งเสริมการลงทุนให้มากขึ้น แต่จากข้อมูลการศึกษาวิจัยพบว่าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพียง 8.1 % เท่านั้นที่มีโอกาสได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากรัฐบาล

ปัญหาข้อจำกัดด้านบริการส่งเสริมพัฒนาขององค์กรภาครับและเอกชน
การส่งเสริมพัฒนาวิสาหิจขนาดกลางขนาดย่อมที่ผ่านมา ได้ดำเนินการโดยหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมส่งเสริมการส่งออก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตลอดจนสมาคมการค้าและอุตสาหกรรมต่าง ๆ

อย่างไรก็ตามเนื่องจากอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมมีจำนวนมากและกระจายอยู่ทั่วประเทศ ประกอบกับข้อจำกัดของหน่วยงานดังกล่าว เช่น ในเรื่องของบุคลากร งบประมาณ จำนวนสำนักงานสาขาในภูมิภาค การให้บริการส่งเสริมสนับสนุนด้านต่าง ๆ จึงไม่อาจตอบสนองได้ทั่วถึงและเพียงพอ
ปัญหาข้อจำกัดในการรับรู้ข่าวสารข้อมูล เนื่องจากปัญหาและข้อจำกัดต่าง ๆ ข้างต้น วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยทั่วไป จึงค่อนข้างมีจุดอ่อนในการรับรู้ข่าวสารด้านต่าง ๆ เช่น นโยบายและมาตรการของรัฐบาล ข้อมูลข่าวสารด้านการตลาด เป็นต้น

มีกลไกจากภาครัฐและสถาบันเอกชนหลายๆ แห่งที่เอื้อประโยชน์แก่กิจการประเภท SMEs แต่ผู้ประกอบการยังไม่สามารถเข้าถึงหรือทำความเข้าใจได้มากพอที่จะนำมาใช้เป็นโอกาสในการสร้างจุดแข็งหรือข้อได้เปรียบที่สูงขึ้นทางธุรกิจ ในด้านแหล่งเงินทุน ปัจจุบันมีธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.), ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นหน่วยงานสนับสนุนทั้งในการกู้ยืมและค้ำประกัน ในด้านการการอบรมพัฒนาความรู้และการใช้สิทธิประโยชน์ เช่นทางภาษีอากร มีศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงินสำหรับวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมและประชาชน ศงป., และหน่วยงานอีกหลายแห่งที่ให้บริการข้อมูลความรู้ รวมทั้งในด้านการสนับสนุนประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการทั้งในประเทศและนอกประเทศ และสถาบันประกาศรับรองมาตรฐานต่างๆที่จะสร้างจุดแข็งแก่ SMEs เช่นสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ, สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ฯลฯ

อย่างไรก็ก็ตาม การที่มีหน่วยงานสนับสนุนที่หลากหลายและแยกต่างหากจากกันในลักษณะนี้ ก็อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่เริ่มต้นธุรกิจใหม่หรือแม้แต่ดำเนินธุรกิจมาอย่างต่อเนื่องแล้วก็ตาม เข้าใจได้ว่าการขอรับการสนับสนุนเป็นเรื่องซับซ้อนและมีเงื่อนไขที่ค่อนข้างมากในทางปฏิบัติ
ความสามารถในการแข่งขันกับการรุกของธุรกิจขนาดใหญ่ ระหว่างการขยายตัวทางธุรกิจ SMEs ก็เริ่มถอยห่างจากจุดแข็งพื้นฐานของธุรกิจที่มีอยู่ออก ไปสู่ภาวะการแข่งขันที่เปิดกว้างและสลับซับซ้อน SMEs หลายแห่งประสบความสำเร็จในการขยายตัวด้วยการอาศัยการเป็น “นวัตกรรมใหม่” ของสินค้าหรือบริการของตนเป็นตัวชี้นำสำคัญในความสำเร็จที่เกิดขึ้น

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อผ่านการพิสูจน์แล้วว่าธุรกิจที่ดำเนินอยู่เป็นธุรกิจที่มีอนาคตสดใส ไม่นานนักคู่แข่งขนาดใหญ่ก็จะรุกคืบเข้ามาสู่การแข่งเพื่อยึดครองส่วนแบ่งที่มีอยู่ในตลาด ลักษณะการรุกคืบดังกล่าวจึงเป็นเรื่องใหญ่ที่กำลังรอให้ SMEs ที่ประสบกับความสำเร็จมาแล้วเตรียมรับมือต่อไป

ความมั่นใจในสินค้าและบริการ
ลูกค้าไม่มั่นใจในสินค้าและบริการทำให้มีการไตร่ตรองและระมัดระวังในการซื้อ ด้วยเกรงว่าสินค้าไม่มีมาตรฐานที่ดีพอ

ความหลากหลายของสินค้าในตลาด
ความหลากหลายของสินค้าในตลาดที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ส่งผลทำให้ผู้บริโภคจดจำสินค้า SMEs ได้ยากกว่าสินค้าชนิดเดียวกันตรายี่ห้ออื่นๆ

การแสวงหาแหล่งเงินทุน
ผู้ประกอบการ SMEs ส่วนมากมักจะประสบปัญหาเรื่องการหาแหล่งเงินทุนสำหรับการขยายกิจการ ทั้งนี้นอกเหนือจากปัญหาเรื่องของเครดิตและการเขียนแผนธุรกิจที่ยังไม่ชัดเจน รวมถึงความสามารถในการแสวงหาทรัพย์สินหรือหลักทรัพย์เพื่อค้ำประกันแล้ว ยังเนื่องมาจากเหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือเรื่องของการวางระบบบัญชี

ในขณะเริ่มต้นธุรกิจ ผู้ประกอบกิจการส่วนมากมักไม่ได้เตรียมความพร้อมหรือให้ความสำคัญกับการจัดการระบบบัญชีของกิจการให้เป็นระเบียบถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองเชื่อถือกันโดยทั่วไป โดยมักจะปล่อยปะละเลยให้บัญชีของกิจการสับสนยุ่งเหยิง ไม่สามารถตรวจสอบที่มาที่ไปของเงินได้

ด้วยเหตุนี้เมื่อถึงเวลาที่กิจการมีความจำเป็นที่จะต้องขยายกิจการหรือด้วยเหตุผลอื่นใดก็ตาม การขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินจึงมักจะเกิดอุปสรรคและข้อติดขัดต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องของเครดิตและมาตรฐานในการตรวจสอบ เนื่องจากสถาบันการเงินไม่เชื่อถือเอกสารทางการเงินที่กิจการนำมาแสดงประกอบเป็นหลักฐานการกู้ยืม ซึ่งในบางกรณีความไม่ชัดเจนของระบบบัญชียังส่งผลให้เกิดข้อสงสัยไปถึงความเป็นไปได้ของธุรกิจของผู้ประกอบการนั้นๆ ว่าจะสามารถดำเนินไปได้ด้วยดีจริงอย่างที่แจ้งบอกไว้ในแผนธุรกิจหรือไม่ ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ อาจเกิดความเคลือบแคลงในตัวผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการด้วยว่า อาจจะนำเงินที่กู้ยืมได้ไปใช้จ่ายผิดวัตถุประสงค์ แล้วสร้างความเสียหายจนไม่สามารถนำเงินมาชำระหนี้คืนได้ จนทำให้เกิดเป็นยอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ใหม่ของสถาบันการเงิน

ดังนั้น ในขั้นเริ่มต้นธุรกิจ ผู้ประกอบการที่มองว่าค่าใช่จ่ายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางบัญชีของกิจการเป็นค่าใช้จ่ายส่วนเกิน เป็นเงินที่ยังไม่สมควรจ่ายในขั้นเริ่มต้น ไว้ค่อยมาคิดอ่านว่ากันอีกหลังในอนาคต ก็น่าจะลองพิจารณาเปรียบเทียบผลได้ผลเสียดูอีกครั้ง

แหล่งที่มา : http://www.sara-dd.com/index.php?option=com_content&view=article&id=199:main-problems-for-smes&catid=25:the-project&Itemid=72

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อขายสินค้า SMEs

ทุกวันนี้อินเตอร์เน็ตถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการสร้างการขายให้กับสินค้า SMEs มาขึ้นด้วยการเข้าถึงผู้ใช้อินเตอร์เน็ตได้อย่างใกล้ชิด และความสามารถในการให้ข้อมูลเชิงลึกอย่างได้ผลกับลูกค้า สินค้าใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากธุรกิจขนาดเล็กจึงสามารถเปิดตัว และทำรายได้ให้กับเจ้าของธุรกิจได้ง่ายและมีค่าใช้จ่ายไม่แพง
สิ่งที่จำเป็นต้องทำเมื่อเริ่มต้น :
1. สร้างเว็บไซต์ของตนเอง
สำหรับธุรกิจขนาดเล็กเจ้าของธุรกิจ SMEs จำเป็นต้องสร้างเว็บไซต์เป็นของตนเอง เพราะเว็บไซต์จะเป็นช่องทางให้ลูกค้าได้เข้ามาชมสินค้า อ่านรายละเอียด และทำความรู้จักกับสินคต้าและร้านค้าทางอินเตอร์เน็ตของเรา ก่อนจะตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าในเวลาต่อมา ดังนั้นเว็บไซต์ของเราจึงต้องมีหน้าตาที่ดูดี น่าเชื่อถือ มีข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัย และที่สำคัญคือต้องให้ข้อมูลที่เป็นจริงแก่ลูกค้าในทุกๆ ด้าน ทั้งสถานที่ตั้ง ราคา หรือส่วนประกอบของสินค้า เป็นต้น
เว็บไซต์ของธุรกิจ SMEs ควรมีข้อมูลสำคัญที่จะทำให้ทราบรายละเอียดทั้งหมดที่ต้องการนำเสนอ การให้ข้อมูลที่มีรายละเอียดที่สามารถตอบข้อสงสัยของลูกค้าได้ดี จะเพิ่มโอกาสในการตัดสินใจซื้อให้เพิ่มขึ้นแลสามารถเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น
2. เขียนบทความและโพสลงใน blog
หลังจากมีเว็บไซต์เป็นของตนเองแล้วนั้น การมีเพียงเว็บไซต์นิ่งๆ อาจไม่เพียงพอที่จะผลักดันให้มีผู้เข้ามาชมสินค้าหรือบริการของเราได้ในทันทีทันใด เจ้าของเว็บไซต์หลายๆ รายจึงมี blog หรือเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาให้ความรู้ความเข้าใจหรือข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวขอ้งกับสินค้าที่เราจำหน่ายอยู่ ซึ่งเว้บไซต์ หรือ Blog นี้จะไม่มีการค้าขายจะมีเพียงข้อมูลข่าวสารและการสนทนาเท่านั้น แต่เจ้าของธุรกิจ SMEs สามารถทำลิงค์เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์สำหรับขายสินค้าได้ เพื่อเป็นจุดเชื่อมนำผู้อ่านจากเว็บไซต์ หรือ Blog นี้ไปยังเว็บไซต์จำหน่ายสินค้าของเรา ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีในการเพิ่มจำนวนลูกค้าให้กับสินค้าของเราในอนาคต ทั้งนี้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ต้องมัการอัปเดทให้ทันสมัยอยู่เสมอๆ ควรทำทุกๆ วันหรืออย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง เพื่อให้มีคนเข้ามาอ่านข้อมูลใหม่สม่ำเสมอและอาจกระตุ้นความต้องการซื้อสินค้าของเราเพิ่มขึ้นก็เป็นได้ (ข้อมูลการสร้าง Blog หรือเว็บไซต์ฟรีหาอ่านได้ในอินเตอร์เน็ต)
3. สร้างรายชื่อสมาชิกที่สำคัญในอีเมล์ของตนเอง
เมื่อมีเว็บไซต์ของตนเองแล้วและมีการสมัครสมาชิกหรือการสั่งซื้อสินค้าเข้ามา ให้เจ้าของธุรกิจ SMEs เก็บรายละเอียดต่างๆ ของลูกค้าไว้โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อยู่และ e-mail ข้อมูลรายชื่อสมาชิกใน e-mail ควรเชื่อมต่อโดยตรงถึงเว็บไซต์สะดวกและง่ายดาย การสร้างบัญชีรายชื่อ e-mail จะเพิ่มโอกาสที่จะแจ้งข้อมูลสำคัญๆ กับลุกค้าได้สะดวก อาทิ เทศกาลลดราคา สินค้าใหม่ และข่าวสารที่เป็นประโยชน์ ทั้งนี้การส่งข้อมูลข่าวสารทางอินเตอร์เน็ตไม่ควรทำบ่อยเกินไปเพราะอาจสร้างความรำคาญให้กับลูกค้าได้

การลงทุนด้วยการสร้างเว็บไซต์หรือ Blog ของตนเองเพื่อการขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตนับเป็นแนวคิดที่น่าสนใจสำหรับเจ้าของกิจการ SMEs เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการทำเว็บไซต์ที่ถูกมากขึ้นในปัจจุบัน โดยอาจใช้เว็บไซต์สำเร็จรูปแบบรายปีที่มีราคาให้เลือกตั้งแต่ 1,000 บาทไปจนถึงหลักหมื่น หรือเว็บไซต์ฟรี, Blog ฟรี ที่ไม่มค่าใช้จ่ายเลย

วันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2553

เมื่อเกษตรกรมาเป็น SMEs (2) : จุดจำหน่ายสินค้าริมทาง)


ขอบคุณภาพจาก : http://www.oknation.net/blog/chaiyospun/2009/05/03/entry-1


เมื่อเกษตรกรตัดสินใจมาเป็นผู้จำหน่ายสินค้าที่ตนเองผลิตได้แล้วนั้นการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายหลักตัวหนึ่ง หากทำได้ก็จะลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ลงได้มาก

การจัดหาที่จำหน่ายสินค้าในพื้นที่จึงถือเป็นทางเลือกอันดับแรก ทั้งนี้เราจะเห็นได้ว่าในพื้นที่ต่างจังหวัดมีร้านค้าริมทางลักษณะแผงลอยเล็กๆ จำหน่ายสินค้าเกษตรตามฤดูการเป็นจำนวนพอสมควรซึ่งถอเป็นแหล่งทำเงินแหล่งหนึ่งสำหรับผู้ต้องการจำหน่ายสินค้าต่างๆ

การนำสินค้ามาจำหน่ายริมทางในบริเวณที่รถสามารถจอดซื้อหาสินค้าได้นับเป็นชื่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าที่น่าสนใจและสร้างรายได้ให้กับผู้ขายได้ดีอย่างไม่น่าเชื่อ ญาติของผู้ขายคนหนึ่งทำธุรกิจ SMEs เกี่ยวกับเนื้อหมูจำพวกกุนเชียง หมูหยอง ได้มีไดยขยายฐานการตลาดของเขาไปยังแผงค้าริมทางเหล่านี้ โดยการไปคุยกับร้านต่างๆ ที่ตั้งอยู่ริมทางในบริเวณจังหวัดปทุมธานีโดยเลือกร้านใหญ่ๆ หน่อยนัดกำหนดเวลาฝากวางประมาณ 10 วันเพื่อเช็คของและเก็บเงิน ผลปรากฎว่าเวลาผ่านไปประมาณ 5 วันร้านค้าได้โทรศัพท์มาแจ้งว่าสินค้าหมดแล้วให้นำของใหม่ไปส่งและเก็บเงินเก่าได้เลย ซึ่งการฝากวางกับร้านค้าเหล่านี้ข้อดีคือการง่ายต่อการฝากขายและเจรจา และได้เงินค่าตอบแทนรวดเร็ว ที่สำคัญคือไม่ต้องออกขายของเอง (กรณีนี้เขาเลือกร้านริมทางค่อนข้างใหญ่และดูน่าเชื่อถือได้)

กรณีของเกษตรกรการนำสินค้ามาขายบริเวณริมทางช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปขายในพื้นที่ไกลๆ อีกทั้งผู้สัญจรผ่านไปมาก็สามารถจอดรถหาซื้อสินค้าได้ง่าย และสามารถขายได้ราคาสูงกว่าการขายส่งให้นายทุน หรือพ่อค้าคนกลาง การนำสินค้าตามฤดูกาลมาจำหน่ายริมทางจึงเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่จะสร้างรายได้เพิ่มขึ้นแก่เกษตรกรได้โดยมีค่าใช้จ่ายไม่สูงนัก หรือหากไม่สะดวกเรื่องการขายในบริเวณดังกล่าวก็สามารถใช้วิธีการฝากขายกับพ่อค้าแม่ค้าริมทางได้โดยการแบ่งเปอร์เซ็นตามตกลง

นอกจากสินค้าตามฤดูกาลแล้ว การนำสินค้าแปรรูปต่างๆ ของผลผลิตมาจำหน่ายยังช่วยเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ให้มีราคาสูงขึ้นและสามารถจัดจำหน่ายได้ทั้งปี ส่งผลให้พื้นที่ขายเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากในที่สุด

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ พื้นที่ริมทางในบริเวณต่างๆ ในต่างจังหวัดทั่วประเทศ อาทิ ชลบุรี ระยอง อยุธยา สุพรรณบุรี ปทุมธานี ฯลฯ ต่างมีจุดจำหน่ายสินค้าริมทางที่สร้างรายได้แก่ผู้ขายได้เป็นกอบเป็นกำ และสามารถกระจายรายได้ให้เกษ๖รกรในพื้นที่ได้พอสมควร และในปัจจุบันยังสามารถขยายฐานการตลาดในพื้นที่ได้เรื่อยๆ เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าที่สัญจรผ่านไปมาและซื้อของฝากกลับไปฝากคนทางบ้าน

วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553

การตั้งราคาสินค้า







ว่าด้วยเรื่องการตั้งราคาการขายสินค้านั้นตามหลักการตลาดได้แบ่งวิธีการขั้นพื้นฐานในการตั้งราคา
วิธีการขั้นพื้นฐานในการตั้งราคา (Basic Methods of Setting Price) นิยมกันอยู่ทั่วไป 3 วิธีคือ
1. วิธีการตั้งราคาโดยยึดต้นทุนเป็นเกณฑ์
- ตั้งราคาโดยคิดต้นทุนบวกกำไร (ราคาขายต่อหน่วย = ต้นทุนทั้งหมด + กำไรที่ต้องการ)
- วิธีการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (จุดคุ้มทุน (Break-Even Point) เป็นจุดที่แสดงว่าปริมาณ ณ จุดของการผลิต หรือการจำหน่าย รายได้รวมจะเท่ากับต้นทุนรวมพอดี)
2. วิธีการตั้งราคาโดยยึดความต้องการของตลาดเป็นเกณฑ์ กล่าวคือ การตั้งราคาโดยดูจากความต้องการของตลาดที่จะสามารถยอมรับราคาที่เราตั้งว่าสามารถยอมรับราคาดังกล่าวได้หรือไม่
3. วิธีการตั้งราคาโดยยึดการแข่งขันเป็นเกณฑ์ ก็คือ การตั้งราคาโดยเปรียบเทียบกับราคาสินค้าของคู่แข่งหรือสินค้าชนิดเดียวกันกับเราเจ้าอื่นๆ แล้วจึงตั้งให้ใกล้เคียงกับเขา หรือต่ำกว่า


ซึ่งทั่วไปการตั้งราคาสินค้าก็จะใช้หลักการทั้ง 3 ประเภทร่วมกัน โดยสิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นสำคัญในการคำนวณ คือ "ต้นทุนทั้งหมด" ซึ่งผู้ขายหลายท่านอาจลืมนำต้นทุนที่มองไม่เห็นบางอย่างไปคำนวณก่อนการตั้งราคาขายสินค้าไปด้วย เช่น ค่าแรงงาน ค่าเสื่อมราคาของอุปกรณ์ (รถ, เครื่องใช้ไม้สอย) ค่าใช้จ่ายต่างๆ ระหว่างการขาย (ค่าที่พัก, ค่าอาหาร) โดยมักจะนำค่าใช้จ่ายเฉพาะที่เห็นได้ชัดเจนไปคำนวณหักลบ และนำมาตั้งเป็นราคาสินค้าสำหรับขายเท่านั้น

สำหรับตัวผู้เขียนเองเทคนิคในการตั้งราคาสินค้าของตัวเองซึ่งเป็นสินค้าเฉพาะไม่ซ้ำกับสินค้าของท้องตลาดจะใช้วิธีการคำนวณดังนี้คือ .... ต้นทุนทั้งหมด + กำไรที่ต้องการ (ไม่ต่ำกว่า 30%) = ราคาสินค้าต่อหน่วย โดยนำราคาตลาด และราคาสินค้าของคู่แข่งมาพิจารณาร่วมด้วยน้อยมาก โดยนำแนวคิดเรื่องคุณภาพของสินค้ามาทดแทนเรื่องราคาที่มีความแตกต่างกัน สินค้าของผู้เขียนจะเน้นคุณภาพของสินค้าที่อยู่ในระดับ A+ ซึ่งจะตั้งราคาในระดับสูงกว่าสินค้าชนิดเดียวกันปรกติ และเน้นบริการก่อนและหลังการขายเพิ่มขึ้นจากคู่แข่งสินค้าชนิดเดียวกันเจ้าอื่นๆ ซึ่งเมื่อลูกค้าทักท้วงเรื่องราคา ก็จะให้เหตุผลกับลูกค้าตามบริการอื่นๆ ที่เราเพิ่มให้เพื่อให้ลูกค้าเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้รับ โดยผู้เขียนจะไม่เน้นการทำตลาดโดยการลดราคาสินค้าเลย หากลูกค้ายังคงไม่พอใจกับราคาที่เราเสนอให้แล้วนั้นในบางครั้งเราต้องปล่อยลูกค้าบางรายไปเพื่อคงมาตรฐานของงานเราให้มีคุณภาพที่ดีในราคาที่เรากำหนดและเรารับได้

มีผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหารชนิดหนึ่งได้มาออกงานแสดงสินค้าที่กรมการส่งเสริสการส่งออก ได้เคยกล่าวถึงประสบการณ์การขายสินค้าของตนเองว่าไม่เคยลดราคาสินค้าให้ลูกค้าเลย ยกเว้นการปัดเศษเงินทอนเล็กๆ น้อยๆ โดยจะเน้นการแจกและแถมให้กับลูกค้าแทนการลดราคาเพื่อสร้างมาตรฐานราคาของสินค้าของตน และเป็นแนวทางให้กับลูกน้องที่มาขายสินค้าให้ไม่ต้องลำบากใจเมื่อต้องมาขายของ โดยในทุกวันจะจัดเตรียมสินค้าสำหรับแจกและแถมไว้ต่างหากโดยคำนวณสินค้าส่วนนี้ไว้กับราคาต้นทุนสินค้าแล้ว เมื่อลูกค้าของลดราคา ก็ใช้วิธีการนำสินค้านี้แถมเพิ่มให้ ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่จะพอใจการแจก-แถมนี้ค่อนข้างมาก โดยจะมองว่าแม่ค้าใจดี อีกทั้งการแจกหรือแถมสินค้าไปนั้นลูกค้าจะได้ของที่เห็นเป็นปริมาณ และชิ้นส่วนของสินค้าอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม ซึ่งเมื่อนำสินค้ามาใช้บริโภคก็จะรู้สึกดีว่าสินค้านี้ได้แถมมาจากร้านค้า

เทคนิคการแจก-แถมสินค้าเป็นกลยุทธ์ที่ส่งผลดีกว่าการลดราคาสำหรับธุรกิจขนาดเล็กๆ เพราะสินค้าอยู่ในมือเราราสามารถจัดการคำนวณต้นทุนต่างๆ ได้ อีกทั้งสินค้าสำหรับแจกจะอยู่ในราคาทุนของเราอยู่แล้วการแบ่งสินค้าไว้สำหรับแถมหรือแจกจึงทำให้ร้านค้าสามารถคำนวณรายได้และกำไรของร้านได้ดีขึ้น ไม่ผิดพลาดหรือตกหล่นอย่างการลดราคาที่อาจมีการตกหล่นของการจดจำยอดเงิน

ดังนั้นเทคนิคการแถม - แจกจึงควรนำมาใช้ในการเพิ่มยอดการขายได้มากกว่าการลดราคา หรือกรณีสินค้าเราชิ้นใหญ่ไม่สามารถแถม-แจกได้ผู้ขายก็สามารถช้วิธีการสะสมแต้มหรือแจกเป็นสินค้าชนิดอื่นๆ แทน เป็นต้น










วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553

เมื่อเกษตรกรมาเป็น SMEs (1)

ในประเทศไทยผลิตภัณฑ์ภาคเกษตรซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ของประเทศถูกดัดแปลงมาเป็นสินค้าสำหรับจัดจำหน่ายมากมายในท้องตลาด ทั้งในธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องใช้ เฟอร์นิเจอร์ และอื่นๆ

บ่อยครั้งที่ตลาดภาคเกษตรต้องประสบปัญหาการไม่สามารถจำหน่ายผลผลิตได้ในราคาที่ต้องการ หรือมีสินค้าล้นตลาดจนไม่สามารถจำหน่ายสินค้าได้ ส่งผลให้เกษตรกรต้องแปรรูปสินค้าเพื่อให้คงรูปหรือเก็บไว้ได้ยาวนาน หรือบางครั้งต้องนำผลิตภัณฑ์ออกจำหน่าย และหาตลาดด้วยตนเอง จนกลายเป็นพ่อค้าแม่ค้าจำเป็นในขั้นแรก และกลายเป้นทั้งเกษตรกรและพ่อค้าแม่ค้าไปพร้อมๆ กันในที่สุด

หลายครั้งในงานมหกรรมที่ภาครัฐและเอกชนจัดให้มีการจำหน่ายสินค้าแปรรูปภาคเกษตรจะเห็นพ่อค้าแม่ค้าที่มาออกร้านจำหน่ายสินค้าที่เป็นเกษตรกรมาจัดจำหน่ายสินค้าของตนเอง ในฐานะตัวแทนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรต่างๆ

ข้อได้เปรียบของเกษตรกรที่มาเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าเอง ก็คือการไม่ต้องมีการผ่านสินค้าสู่พ่อค้าคนกลาง ซึ่งเป็นผลดีในการได้ผลกำไรอย่างเต็มที่จากผลิตภัณฑ์ที่นำมาจัดจำหน่าย อีกทั้งผู้ผลิตหรือเกษตรกรสามารถได้พบปะและเป็นผู้จัดจำหน่ายโดยตรงแก่ผู้บริโภค เป็นผลดีทั้งแก่ผู้ซื้อที่ได้ซื้อสินค้าในราคาถูก และผู้ขายที่ได้ขายสินค้าได้ราคาที่ตัวเองเป็นผู้กำหนด และได้กำไรอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย


แต่ปัญหาของเกษตรกรในการดำเนินธุรกิจ หรือปรับตัวมาเป็นผู้ขายโดยตรง คือมีหลายประการเช่นกัน ทั้งปัญหาด้านการบริหารสินค้าที่มีกพบเกิดปัญหาอยู่เสมอ คือ เมื่อนำสินค้ามาจัดจำหน่ายหมดลงต้องนำสินค้ามาเพิ่มเกษตรกรจำขาดการคำนวณเรื่องระยะเวลาการเดินทาง ต้นทุนการขนส่ง รวมไปถึงระยะเวลาของการจัดเก็บสินค้า ทำให้บ่อยครั้งพบว่าเกิดกรณีขายสินค้าหมดก่อนเวลางานที่จัดขึ้น หรือการตั้งราคาขายต่ำกว่าต้นทุนการขนส่งโดยขาดการคำนวณ รวมไปถึงการขาดการคำนวณเรื่องการจัดเก็บสินค้าจนเกิดความเสียหายแก่สินค้าประเภทอาหาร เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาพื้นฐานที่พบบ่อยครั้งกับเกษตรกรที่เข้าสู้ตลาดการค้าขาย

ดังนั้นการเรียนรู้เทคนิคการจัดการบริหารสินค้าจึงเป็นสิ่งสำคัญที่กลุ่มเกษตรกรต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจก่อนเริ่มต้นเข้ามาเป็นผู้ค้าสินค้าเกษตร ซึ่งหากเกาตรกรอยู่ในกลุ่มแม่บ้านภาคเกษตร หรือกลุ่มเกษตรกรกลุ่มอื่นๆ ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดอบรมให้แก่กลุ่มเกษตรกรอยู่เป็นครั้งคราว แต่หากไม่ได้อยู่ในกลุ่มต่างๆ เหล่านี้แล้วก็ต้องเรียนรู้จากประสบการณ์ จากการหนังสือ และลู่ทางอื่นๆ

วันพุธที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2553

SMEs มีเพื่อนเยอะ !!!

ปัจจุบันธุรกิจ SMEs ภาคธุรกิจที่มีสัดส่วนของของกิจการมากที่สุดในประเทศไทย คือ 99.7% หรืออีกมุมมองหนึ่งก็คือธุรกิจส่วนใหญ่ในประเทศไทยเป็นธุรกิจ SMEs และมีเพียง 0.03% เท่านั้นที่เป็นธุรกิจขนาดที่ใหญ่กว่า

ไม่ใช่เพียงประเทศไทยประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียก็เช่นเดียวกันที่ธุรกิจ SMEs เป็นธุรกิจที่มีสัดส่วนสูงกว่าธุรกิจขนาดอื่นๆ ประเทศเพื่อนบ้านเรา Malaysia 96.1% Singapore 99.7% รวมไปถึง Hong Kong 98.0% และ Japan 98.9% แสดงให้เห็นว่าจริงๆ แล้วธุรกิจ SMEs นี้เพื่อนเยอะ ^^

ธุรกิจขนาดเล็กถือเป็นจุดเริ่มต้นสู่ธุรกิจขนาดใหญ่ต่อไปในอนาคตสำหรับผู้ที่ต้องการเติบโต และสำหรับหลายๆ คนการทำธุรกิจขนาดเล็กที่ดีและประสบความสำเร็จ และมีคุณภาพโดยไม่ต้องเป็นธุรกิจขนาดที่ใหญ่ขึ้นก็เป็นความฝันในอาชีพการงานของเขาอย่างแท้จริง ดังนั้นธุรกิจ SMEs จึงถือเป็นธุรกิจตั้งต้นสำหรับคนมีฝันที่จะมีอิสระในอาชีพการงานหลายๆ คน

แม้แต่ในประเทศที่เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างประเทศญี่ปุ่นเองก็มีสัดส่วนของธุรกิจ SMEs ถึง 98.9% ประเทศในกลุ่ม EU ก็อยู่ที่ประมาณ 99%

ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในปัจจุบันอย่าง “บ้านใร่กาแฟ” และสาหร่าย "เถ้าแก่น้อย" ก็เริ่มต้นต้นธุรกิจของพวกเขาจาก SMEs มาแล้ว

ดังนั้นความสำเร็จของธุรกิจจะมีได้ต้องมาจากการเริ่มต้นที่ดี ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใดๆ หากเจ้าของดำเนินการอย่างตั้งใจ เรียนรู้ธุรกิจอย่างตั้งใจจริง และใช้ประสบการณ์ในอดีตเพิ่มพูนความสามารถในปัจจุบันและอนาคตแล้ว ความสำเร็จในการเป็น SMEs ที่ประสบความสำเร็จ หรือก้าวสูงขึ้นในธุรกิจขนาดที่ใหญ่กว่าย่อมเป็นไปได้อย่างแน่นอน


References
Wikipedia. 2010. Small and medium enterprises. [Online]
http://en.wikipedia.org/wiki/Small_and_medium_enterprises
Vadim Kotelnikov. 2007. Small and Medium Enterprises and ICT. [Online]
http://www.apdip.net/publications/iespprimers/eprimer-sme.pdf
ชนิดา จรรยาเพศ แบมฟอร์ด. 2542. "จิ๋วแต่แจ๋ว" เศรษฐกิจชุมชนในอเมริกา. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก
http://www.focusweb.org/thailand/html/modules.php?op=modload&name=News&file=article&sid=7

วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553

ธุรกิจขนาดเล็ก..กับการใช้ Outsource

ธุรกิจขนาดเล็กของเรามีข้อจำกัดเรื่องจำนวนแรงงานในธุรกิจ ตัวเจ้าของกิจการมักรับภาระรับผิดชอบดูแลงานส่วนใหญ่ อาทิ งานเอกสาร บัญชี การจัดการสินค้า รวมไปถึงซื้อสินค้า และจัดส่งสินค้า หรือในบางกรณีคือมีแรงงานหลักคนเดียวนี่แหละคือเราผู้เป็นเจ้าของกิจการ ^^

ดังนั้นการใช้ Outsource หรือ การจ้างแรงงานจากภายนอกมาช่วยทำงานในบางส่วนที่เราไม่สามารถทำได้ เพื่อทุ่นเวลาในการทำงานของเรา หรือช่วยให้งานของเราสามารถขยายวงในการดำเนินธุรกิจได้มากยิ่งขึ้นจึงเป็นเรื่องที่สมควรพิจารานำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจ SMEs ของเราเป็นอย่างยิ่ง

การใช้ Outsource นอกจากจะช่วยทุ่นเวลาในการทำงานของเราแล้ว ยังเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจเราให้ดียิ่งขึ้น เพราะธุรกิจขนาดเล็กเนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องแรงงานที่มีอยู่น้อยในองค์กร การจ้าง Outsource ในบางครั้งที่มีการแคลนแรงงานเฉพาะ หรืองานที่เจ้าของธุรกิจขาดความเชี่ยวชาญเฉพาะในบางช่วงเวลาก็น่าจะเป็นประโยชน์ให้เจ้าของธุรกิจได้นำเวลาส่วนที่จะเสียกับงานส่วนนี้ไปดำเนินงานส่วนอื่นๆ ที่ถนัดให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

Outsource ที่ธุรกิจขนาดเล็กมักจะใช้บริการอยู่สม่ำเสมอก็คือ บริการรับ-ส่งเอกสาร บริการทำความสะอาด บริการตรวจ-ทำบัญชีประจำปี เป็นต้น ซึ่งงานลักษณะนี้เป็นงานซึ่งต้องใช้เวลาหรือความชำนาญ ซึ่งหากสามารถจัดหา Outsource มาดำเนินงานในส่วนนี้ได้เจ้าของกิจการจะสามารถมุ่งงานไปที่ส่วนอื่นที่สำคัญกว่าได้ดีขึ้น

นอกจาก Outsource จะช่วยด้านเวลาและแรงงานแล้วในหลายครั้งการใช้บริการ Outsource จะช่วยขยายฐานการทำงานของธุรกิจเราให้สามารถขยายตลาดให้กว้างขึ้นได้ ตัวอย่างกรณีของร้านรับพิมพ์งานแห่งหนึ่งเป็นธุรกิจขนาดเล็กที่พึ่งก่อตั้ง มีเงินทุนหมุนเวียนต่ำ แต่เจ้าของกิจการต้องการขยายงานส่วนการรับทำนามบัตรและบริการจัดส่งถึงที่ จึงได้ประกาศรับทำนามบัตรทางอินเตอร์เน็ตซึ่งมีลูกค้าตอบรับให้ความสนใจใช้บริการทำนามบัตรจำนวนมาก แต่ด้วยเงินทุนหมุนเวียนต่ำการรับสมัครพนักงานประจำสำหรับงานรับ-ส่งเอกสาร จึงเป็นเรื่องต้องตัดทิ้งไป เจ้าของร้านรับทำนามบัตรจึงได้ติดต่อกับรถจักรยานยนต์รับจ้างใกล้ๆ ร้านคนหนึ่งที่รับวิ่งงานนอกพื้นที่สำหรับเป็น Outsource ของร้านตนเอง เมื่อมีลูกค้าสั่งงานก็ใช้บริการ Outsource นี้และจ่ายเงินค่าจ้างเป็นงานๆ ไป โดยเจ้าของร้านได้เพิ่มเงื่อนไขการรับส่งงานด้วยจำนวนเงินขั้นต้นของการส่งนามบัตรว่ามีขั้นต่ำเท่าไร เพื่อให้เพียงพอต่อการจ้างจักรยานยนต์รับจ้างแต่ละครั้ง ซึ่งวิธีนี้ถือว่า win : Win : Win เลยทีเดียว คือ เจ้าของร้านได้งาน ลูกค้าได้ของ และจักรยานยนต์รับจ้างได้ค่าจ้าง (แถมกลับไปวิ่งรับคนที่วินมอร์เตอร์ไซต์ได้ต่อด้วย)

ข้างบ้านผู้เขียนรับเย็บเสื้อผ้าโหลส่งประตูน้ำก็ใช้บริการ Outsource กับเขาเหมือนกัน ทุกๆ วันจะเห็นมีสาวๆ หลายคนเดินหอบผ้ากองใหญ่มาที่บ้านหลังนี้เพื่อส่งเสื้อผ้าที่นำไปเย็บกลับมาส่งเจ้าของบ้าน เมื่อส่งงานก็จะรับเงินค่าจ้างทันที เจ้าของบ้านเย็บผ้าโหลได้สินค้าจำนวนเพียงพอส่งผู้ว่าจ้าง และสามารถขยายงานได้มากขึ้นทั้งจำนวนที่มากขึ้นและระยะเวลาการทำงานที่ลดลง ผู้รับจ้าง Outsource ก็ได้สตางค์ไปใช้จ่ายจุนเจือครอบครัวโดยไม่ต้องเดินทางไปทำงานไกลบ้าน

ข้อดีของการใช้ Outsource มีมากมายหากเจ้าของกิจการรู้จักนำแรงงานส่วนนี้มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง แต่ขณะเดียวกัน Outsource คือแรงงานที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังนั้นเจ้าของกิจการต้องพิจารณาคุณสมบัติของ Outsource ให้ดี อาทิ ระเบียบวินัย ความซื่อสัตย์ ความตรงต่อเวลา และอื่นๆ

วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553

เจ้าของ SMEs ต้องหมั่นหาความรู้

ผู้ประกอบกิจการ SMEs ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ในเรื่องธุรกิจของตนเองสม่ำเสมอ ทั้งการอ่านหนังสือ บทความ หนังสือพิมพ์ การเข้าสัมมนา และเข้าชมงานแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้อง และแหล่งความรู้อื่นๆ เพื่อนำความรู้ดังกล่าวมาพัฒนา ปรับปรุงธุรกิจของเราให้ดียิ่งๆ ขึ้น

ในตอนเริ่มต้นธุรกิจเราอาจมีความรู้ในงานของเราบางส่วน แต่เมื่อเริ่มต้นทำไปได้สักพักความรู้ควรต้องมีมากขึ้น ทั้งจากประสบการณ์ที่ได้รับ และจากการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม

ยิ่งเรามีความรู้มากกว่าธุรกิจชนิดเดียวกันอื่นๆ เรายิ่งได้เปรียบมากยิ่งขึ้น และเป็นผู้นำในธุรกิจดังกล่าว ในสนามธุรกิจการได้เปรียบหรือเป็นผู้นำแม้เพียงเล็กน้อย ก็ยิ่งส่งผลต่อผลกำไรที่จะได้เพิ่มขึ้นมา ยกตัวอย่างการขายสินค้าแฟชั่น การศึกษาแนวโน้มของตลาดจากนิตยสารต่างประเทศย่อมทำให้เรามีมุมมองตลาดภายในประเทศได้ไวกว่าร้านขายเสื้อผ้าแฟชั่นด้วยกัน เราสามารถสั่งสินค้าที่นำสมัย หรือสั่งตัดเย็บเสื้อผ้าแบบต่างๆ ได้ก่อน และนำออกวางจำหน่ายปลีกขายส่งได้ก่อนร้านอื่นๆ ซึ่งเมื่อเราสามารถมองตลาดได้ล่วงหน้า และเข้าใจความต้องการของลูกค้าได้ก่อนใครๆ ย่อมทำให้ผู้ซื้อมุ่งการซื้อมาที่ร้านของเราก่อนร้านอื่นๆ เมื่อคิดที่จะซื้อสินค้าชนิดนั้นๆ

นอกจากการศึกาหาข้อมูลต่างๆ จะได้ประโยชน์ของการทราบแนวโน้มตลาดแล้ว เรายังได้ความรู้เรื่องการตกแต่งร้าน การปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ รวมไปถึงเทคนิคการขายหรือเรื่องราวอื่นๆ ที่น่าสนใจ อาทิ การทำบัญชี การบริหารร้านค้า การพัฒนาบุคลากร เป็นต้น

ถึงแม้เราจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก แต่เราก็สามารถสร้างมาตรฐานให้ธุรกิจเรามีคุณภาพได้ไม่แพ้ธุรกิจใหญ่ๆ ด้วยการมีความรู้และความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในงานของเรา และพยายามปรับปรุงธุรกิจของเราให้ถูกใจลูกค้า และมีมาตรฐานไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการที่ลูกค้าใช้บริการกับร้านอื่นๆ ทั้งใหญ่และเล็กกว่าเรา

วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

อยากมีธุรกิจส่วนตัว...แต่กลัวการขายทำอย่างไรดี

มีคนจำนวนมากที่อยากทำธุรกิจส่วนตัวมากๆ อยากเป็นอิสระจากชีวิตที่อยู่ในกรอบของเวลา และการทำงานให้กับผู้อื่นอย่างไม่มีจุดมุ่งหมายให้กับตัวเอง

แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่สามารถออกมาสร้างธุรกิจของตนเอง หรือทำกิจการส่วนตัวได้เพราะปัญหาส่วนตัวเรื่อง...1. กลัวการสื่อสาร 2. ไม่ชอบการสนทนากับคนแปลกหน้า 3. ไม่ชอบการต้องพูดคุยเพื่อชักชวนให้ผุ้อื่นซื้อสินค้าหรือเปิดรับบริการของเรา 4. กลัวการค้าขาย

ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาปรกติของบุคคลทั่วไปที่ไม่คุ้นเคยกับการค้าขาย และมีบุคลิกเรียบง่ายไม่ชอบสังคม หรือติดต่อสื่อสารกับผู้คนจำนวนมาก

วิธีแก้ไขปัญหานี้สามารถทำได้คือ
1. หลีกเลี่ยงธุรกิจที่ต้องใช้การสื่อสารเป็นหลักในธุรกิจ เช่น การค้าขายต่างๆ และธุรกิจบริการ โดยหันไปลองเริ่มต้นกับธุรกิจอื่นๆ ที่อาจใช้การสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต อาทิ
1.1 การสร้างร้านค้าออนไลน์ให้มีการสั่งซื้อสินค้าผ่านตะกร้าสินค้า หรือการติดต่อผ่าน e-mail ซึ่งไม่ต้องมีการเผชิญหน้า ก็น่าจะได้ผลดีสำหรับผู้ที่ไม่ชอบการสนทนาแบบเผชิญหน้า
1.2 ธุรกิจหรือร้านค้า เช่นร้านรับพิมพ์งาน ถ่ายเอกสาร ถ่ายภาพดิจิตอล ขายของชำ หรือสินค้าลักษณะเฉพาะที่ลูกค้าจำเป้นต้องใช้งานอยู่แล้วโดยไม่ต้องชักจูงใจ ซึ่งแม้มีการเผชิญหน้าและพุดคุยกับลูกค้าบ้างแต่ก็เป็นการสื่อสารระยะสั้น และลูกค้าที่เข้ามามีจุดมุ่งหมายในการทำงานอยู่แล้ว จึงไม่ต้องใช้ทักษะในการชักจูงใจ ซึ่งสร้างความลำบากใจแก่ผู้ไม่คุ้นเคย

2. ฝึกฝนและเพิ่มทักษะในการสนทนาและการขาย โดยเริ่มจากการสร้างทัศนคติที่ดีต่อการทำธุรกิจเป็นของตนเอง โดยให้นึกถึงประโยชน์ของการมีธุรกิจเป็นของตนเอง อาทิ มีรายได้สูงกว่าการทำงานประจำ เป็นเจ้านายตนเอง มีอิสระทางความคิดและการบริหารการเงิน และสามารถตัดสินใจดำเนินงานได้ด้วยตนเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นแรกกระตุ้นให้เราเกิดกำลังใจในการเผชิญหน้ากับสิ่งไม่คุ้นเคยต่างๆ ได้ แรงกระตุ้นเหล่านี้เราจะพบเห็นได้เสมอกับงานประเภท ธุรกิจขายตรงที่นำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่างๆ ทั้งด้านการเงิน ความก้าวหน้า และความมั่นคงในอนาคตมาเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้เข้าอบรมเกิดแรงใจในการเริ่มต้นธุรกิจดังกล่าว ซึ่งเราสามารถนำมาปรับใช้กับการเริ่มต้นธุรกิจของเราได้เช่นเดียวกัน แถมธุรกิจส่วตัวของเราเราติดดาวให้ตัวเองได้ด้วย ตั้งเป้าหมายไว้ได้กำไรเท่านี้ได้3 ดาว เพิ่มขึ้นอีกได้ 5 ดาว มากขึ้นไปอีกได้มงกุฎ ได้มรกต ได้เพชร ได้ดับเบิ้ลบิ๊กเพชร ตั้งเป้าหมายไว้แล้วทำให้ได้ตามเป้าตั้งไว้ด้วยตัวเอง แล้วให้รางวัลตัวเองเสียเลยเมื่อทำสำเร็จ อิอิ

ขอให้ผู้เริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวพิจารณาบุคลิกของตนเองว่าเหมาะกับงานประเภทใดและควรเลือกแนวทางใดในการเริ่มต้นธุรกิจ หากเลือกแนวทางที่เหมาะธุรกิจย่อมดำเนินไปได้ด้วยดีเช่นกัน

กรณีน้องคนหนึ่งเป็นคนชอบเล่นเกมออนไลน์ และเข้าเว็บไซต์สนทนาต่างทางอินเตอร์เน็ต แต่เป็นคนไม่ชอบทำงานบริษัทเนื่องจากเคยทำงานแล้วมีปัญหาเรื่องการเดินทางไกล และไม่ชอบสังคมระดับชั้นในที่ทำงานจึงหันมาทำธุรกิจขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งได้รับความสำเร็จจากธุรกิจจำหน่ายสินค้าออนไลน์ค่อนข้างดี ทั้งนี้ตลาดขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ตยังสามารถเติบโตได้อีกค่อนข้างสูง ขอเพียงผู้สนใจศึกษาหาข้อมูลและตั้งใจจริงในการเริ่มต้นความสำเร็จก็อยู่ไม่ไกล

วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2553

SMEs ต้องรู้เรื่องเงิน

การจะเป็นเจ้าของกิจการได้นั้นไม่ว่าจะเป็นกิจการขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ความรู้ในเรื่องผลิตภัณฑ์ที่เราเป็นเจ้าของเป็นเรื่องสำคัญ อีกทั้งความรู้ในการจัดการทั้งระบบการเงิน และระบบจัดการสินค้าก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้

ความรู้ที่กล่าวถึงจึงไม่ใช่ระดับการศึกษาที่เราเรียนจบมา แต่เป็นเรื่องของความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และความรู้ในการเรื่องของการจัดการธุรกิจ

เจ้าของกิจการจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการทำบัญชีเบื้องต้น อาทิ รายรับ รายจ่าย ต้นทุนสินค้า ขอให้มีการจดบัญชีสม่ำเสมอแยกส่วนของต้นทุนการค้า รายได้ กำไร และค่าใช้จ่ายนอกเหนือ โดยแยกต่างหากอย่างชัดเจนกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตปรกติ เนื่องจากบ่อยครั้งที่พบปัญหาว่าธุรกิจขนาดเล็ก ตัวเจ้าของมักใช้เงินทุน เงินรายได้ และเงินที่ใช้ดำเนินชีวิตปรกติ เป็นเงินก้อนเดียวกัน ซึ่งหลายครั้งเกิดปัญหาเมื่อนำเงนไปใช้จ่ายจะทำให้ขาดสภาพคล่องทางการเงินของธุรกิจ ไม่มีเงินสำหรับลงทุนซื้อสินค้าเข้าร้าน

ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการนำเงินไปใช้นอกเหนือจึงสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการกันเงินออกเป็นส่วนๆ อย่างชัดเจน โดยแยกออกเป็น 1) เงินทุน คือ เงินที่ใช้สำหรับใช้จ่ายเพื่อผลักดันธุรกิจของเราให้ดำเนินได้อย่างราบรื่น ประกอบด้วย เงินสำหรับซื้อสินค้า ค่าเดินทาง ค่าอุปกรณ์เครื่องมือในการประกอบกิจการ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของเรา 2) เงินกำไรของการประกอบกิจการซึ่งจะเป็นเงินรายได้ที่หักลบกับต้นทุนการค้าแล้วเหลือเป็นส่วนของกำไร ซึ่งเงินส่วนกำไรนี้เองที่เราจะถือเป็นเงินส่วนที่จัดสรรไปใช้จ่ายในเรื่องอื่นๆ เพื่อความสะดวกสบาย หรือค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากการดำเนินกิจการได้

โดยปรกติเงินในส่วนกำไรนั้นผู้ประกอบกิจการขนาดเล็กทั่วไปนั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ 1. 30% นำกลับไปรวมกับเงินส่วนต้นทุนเพื่อเพิ่มทุนของกิจการให้มีสภาพคล่องที่ดียิ่งขึ้น และสามารถนำไปจัดซื้อสินค้า หรือขยายกิจการให้มากขึ้น 2. 20% เป็นเงินออมเพื่อเก็บเป็นเงินใช้ยามฉุกเฉิน หรือเป็นเงินก้อนสำหรับลงทุนระยะยาว 3. 50% ใช้เป็นเงินค่าใช้จ่ายส่วนตัวของเจ้าของกิจการ อาทิ ค่าอาหาร ค่าเช่าบ้าน ค่าท่องเที่ยว หรือค่าใช้จ่ายจิปาถะอื่นๆ

หากเจ้าของธุรกิจ SMEs สามารถแยกสัดส่วนของเงินและทำบัญชีการใช้จ่ายอย่างง่ายๆ ได้อย่างต่อเนื่องเพียงไม่นานก็จะสามารถประเมินธุรกิจที่ทำได้ว่าให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ อีกทั้งจะเห็นแนวโน้มของธุรกิจว่ามีอนาคตที่ดีหรือไม่ดี

โดยส่วนใหญ่ผลกำไรของการค้าขายสินค้าในทุกระดับจะมีผลตอบแทนที่ค่อนข้างดี แต่อย่างที่กล่าวมาแล้วปัญหาหลักที่ทำให้ธุรกิจเหล่านั้นดำเนินได้ไม่นานก็คือ การนำเงินทุนไปใช้จ่ายรวมกับยอดเงินอื่นๆ จนในที่สุดเงินทุนก็ถูกใช้ไปหมด และธุรกิจก็หยุดชะงักและต้องหยุดดำเนินการในที่สุด การแก้ไขปัยหาที่เด็ดขาดและได้ผลคือต้องแยกทำปัญหาต้นทุน กำไร ออกจากกันให้ชัดเจน

วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

ลดค่าใช้จ่ายของธุรกิจ..ด้วยของมือสอง

การเปิดธุรกิจใหม่ของเรามีค่าใช้จ่ายจิปาถะมากมาย หลายครั้งเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดไว้ก่อน และหากเราสามารถหาวิธีการลดค่าใช้จ่ายที่จำเป็นบางอย่างลงได้ก็จะสามารถลดค่าใช้จ่ายหลักๆ ลงได้อีกมากมาย

เราสามารถลดค่าใช้จ่ายเหล่านี้ลงได้บางส่วนด้วยการใช้อุปกรณ์มือสอง หรือเครื่องใช้ที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว ที่สามารถหาซื้อได้ในราคาที่ถูกลงจากสินค้าใหม่กว่า 50%

อุปกรณ์หรือเครื่องมือเครื่องใช้บางอย่างเราจำเป็นต้องใช้ของใหม่ อาทิ ถ้วย แก้ว จาน ช้อน คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องใช้ที่มีการพัฒนาอยู่เสมอ หรือมีความอ่อนไหวต่อการใช้งาน แต่อุปกรณ์บางอย่างสามารถใช้ของมือ 2 ได้อย่างดีแถมราคาถูกกว่าของใหม่มากๆ อาทิ เก้าอี้ โต๊ะ ป้ายไฟประดับร้าน ตู้โชว์กระจก เครื่องซีนความร้อน เป็นต้น

สินค้ามือ 2 เหล่านี้สามารถหาซื้อได้ในอินเตอร์เน็ต ที่มีผู้มาประกาศขาย โดยให้เราพิจารณาเปรียบเทียบจากราคาของใหม่ว่าแตกต่างกันอย่างที่เรารับได้หรือไม่ นอกจากนี้ให้ผู้ซื้อพึงระลึกอยู่เสมอว่าของที่ขายในอินเตอร์เน็ตเป็นของที่อยู่ในอากาศ ดังนั้นควรมีการนัดดูสินค้าและทดลองสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อจริง ตัวอย่าง เว็บไซต์ขายสินค้ามืองสองที่มีชือ่เสียง อาทิ www.2hand-dd.com/pong,http://www.thaisecondhand.com/, http://www.pramool.com/

นอกจากหาซื้อทางอินเตอร์เน็ตแล้วยังมีตลาดขายสินค้ามือสองที่ขึ้นชื่ออีกแห่งหนึ่ง คือ ตลาดคลองถม ที่เหล่าพ่อค้าขายของเก่าจะนำสินค้าจากหลากหลายที่มารวมตัวกันจัดจำหน่ายในคืนวันเสาร์ จนถึงวันอาทิตย์ตลอดทั้งวัน ซึ่งหากตั้งใจเดินดูของโดยสังเกตสินค้าที่นำมาวางขายให้ดีแล้วผู้ซื้อจะได้สินค้าที่มีคุณภาพใช้ได้ดีกับการเริมต้นธุรกิจของท่าน

ธุรกิจ SMEs หลายแห่งได้เครื่องใช้ที่สวยงามไปตกแต่งร้าน และอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชิ้นไปเริ่มต้นธุรกิจในราคาถูก ซึ่งนับว่าช่วยทุ่นค่าใช้จ่ายได้ค่อนข้างดี

ธุรกิจของผู้เขียนเองเมื่อตอนเริ่มต้นก็ได้ป้ายอะคิลิคมาทำป้านร้านในราคา 200 บาท ได้เครื่องเคลือบร้อน-เย็นขนาดปานกลางในราคา 1,500 บาท เครื่องซีนความร้อนราคา 200 บาท ของเหล่านี้ได้มาจากตลาดคลองถมทั้งหมด

**นอกจากเป็นแหล่งซื้อสินค้าราคาถูกแล้วหากบางท่านสนใจจะไปทดลองขายสินค้าของท่านที่ตลาดคลองถมก็นับเป็นเรื่องที่ดี โดยให้สังเกตพื้นที่ที่อยู่ไกลจากแหล่งศูนย์กลาง (เพราะมีเจ้าของที่) ลองถามพ่อค้า-แม่ค้าใกล้เคียงแถวนั้นว่าวาสามารถวางขายของได้หรือไม่ มีเจ้าของไหมลองวางดูสักพักหากมีเจ้าของที่มาก็ขยับหาที่ใหม่

ขายของที่คลองถมก็สนุกดีเหมือนกันเพราะผู้เขียนก็เคยไปลองขาย นำหนังสือเก่าๆ ไปขาย 2 ทุ่ม - 5 ทุ่มก็ได้สตางค์ก้กลับได้สตางค์ครั้งละ 2,000-3,000 บาท แต่ที่ต้องระวังคือที่เก่าๆ จะมีเจ้าของที่ ก่อนวางขายก็ต้องสังเกตให้ดีหาที่ว่างๆ ไกลๆ หน่อยก็ได้เพราะคนเดินถึงหมดไม่ว่าไกลแค่ไหน และไม่ควรนำสินค้าไปมากเนื่องจากพื้นี่จะน้อยและอาจต้องมีการขยับเคลื่อนที่เมื่อมีเจ้าของที่มานั่นเอง

วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553

SMEs ต้องมีนามบัตร

คุณเคยใช่ไหมไปติดต่อหาซื้อสินค้า เดินดูจนถูกใจแต่สินค้าชิ้นนี้เราไม่ได้จะใช้เวลานี้แต่จะใช้ในอนาคต ขอนามบัตรเจ้าของร้านไปและได้เป็นเศษกระดาษจดเบอร์โทรศัพท์กลับมา

ไม่ใช่ว่าดูไม่ดี แต่มันไม่คงทนต่างหาก ลองคิดดูว่าเราได้กระดาษจดที่อยู่ จดเบอร์โรศัพท์แบบนี้มาบ่อยครั้งแค่ไหน แล้วเราทำมันหายไปบ่อยหรือไม่ โดยส่วนใหญ่เก็บไว้ได้ไม่นานก็หายไป ได้ใช้ประโยชน์กันจริงๆ

ในทางตรงกันข้ามหากได้รับมาเป็นนามบัตรเราจะสามารถสอดในกระเป๋าสตางค์เราได้สะดวก หรือเก็บไว้ในกล่องที่ใช้ใส่นามบัตรเฉพาะ เมื่อจำเป็นต้องใช้เราก็จะหามาใช้ได้อย่างสะดวก

ธุรกิจของเราก็เช่นเดียวกัน จำเป็นที่สุดที่ต้องมีนามบัตรที่ใช่ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ให้ชัดเจน

ส่วนเรื่องความสวยงามนั้นถามว่าจำเป็นไหม ความสวยงามให้นับเป็นเรื่องรองๆ ในจุดประสงค์ของการทำนามบัตรสำหรับธุรกิจ SMEs ของเรา กล่าวคือถ้าสวยงามได้ก็ดี แต่ถ้าไม่สวยงามก็ไม่ใช่เรื่องจำเป็น

เมื่อตอนครั้งผู้เขียนยังเรียนหนังสืออยู่ ครอบครัวของผู้เขียนออกงานแสดงสินค้าภาคเกษตรบ่อยๆ ตามงานแสดงสินค้าของส่วนราชการที่ให้กลุ่มแม่บ้านภาคเกษตร และร้านค้า SMEs ได้มาออกร้าน ในช่วงก่อนยุค OTOP เสียอีก พบปัญหาว่าแม่ค้ามือใหม่จากกลุ่มแม่บ้านภาคเกษตรทั้งหลายไม่มีนามบัตรสำหรับแจกแก่ลูกค้า เมื่อลูกค้าสนใจจะสั่งสินค้าจำนวนมากและขอนามบัตรก็มีปัญหาต้องจดเบอร์โทรศัพท์ใส่เศษกระดาษให้ลูกค้าไป ซึ่งหากลูกค้าไม่ทำหายไปเสียก่อนก็คงได้ติดต่อค้าขายกัน น้องสาวของผู้เขียนที่ทำนามบัตรใช้กันเองอยู่แล้วก็หัวใสรับจ้างทำนามบัตร ได้เงินจำนวนไม่น้อยจากงานทำนามบัตรให้พ่อค้า แม่ค้าที่มาออกงาน

ตัวผู้เขียนเองก็มีนิสัยไม่เก็บเศษกระดาษ ดังนั้นหากได้เบอร์โทรศัพท์ที่จดมาในเศษกระดาษก็จำเป็นต้องรีบจดลงสมุดทันที เพราะไม่อย่างนั้นก็คงทำหายหาไม่เจอแน่นอน หากได้มาเป็นนามบัตรจะมีกล่องหยอดนามบัตรเก็บไว้เฉพาะหากจำเป็นต้องใช้ก็ไปค้นๆ หามาใช้งาน

หากต้องการประหยัดสตางค์เรื่องค่าทำนามบัตร เจ้าของกิจการ SMEs แสนฉลาดอย่างเราก็ไปทำตรายางไว้ได้เลยให้ได้ขนาดเท่านามบัตร จากนั้นหาซื้อกระดาษแข็งขนาด A4 ราคาแผ่นละ 3-4 บาท มาตัดให้เท่าขนาดนามบัตรและปั๊มตรายาไว้แจกลูกค้าได้ในราคาประหยัด

ขอให้จำไว้ว่านามบัตรช่วยเรื่องความสะดวกในการติดต่อการค้าเป็นสำหคัญ หากทำนามบัตรสวยได้ก็เป็นเรื่องดี ...แต่หากมีข้อจำกัดเรื่องการเงินก็ไม่ต้องคำนึงเรื่องความสวยงาม....แต่ขอให้มีนามบัตรติดไว้เมื่อลูกค้าขอนามบัตรให้สามารถยื่นให้ได้ทันที

ผู้นับสนุนบทความ
http://astore.amazon.com/canvas.frame.paint.art-20

วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

SMEs ต้องมีโลโก้

ธุรกิจขนาดเล็กของเราเมื่อตั้งชื่อกันแล้วก็ต้องคิด Logo ไว้ด้วย เพื่อสร้างแบรนด์ (Brand) หรือตราสินค้าให้กับสินค้าของเรา ถึงแม้บางท่านจะบอกว่าเราไม่ได้ขายของนะ **ยิ่งไม่ใช้ธุรกิจเกี่ยวกับการค้าขายแล้วตราสินค้ายิ่งจำเป็นสำหรับเราเป็นอย่างยิ่ง เพราะ Logo ของเราจะทำให้ลูกค้าจำได้ว่านี่คือร้านที่เขาต้องการมาซื้อแบบเฉพาะเจาะจง ไม่ใช่มาใช้บริการหรือสินค้าแบบนี้ที่ร้านไหนๆ ก็ได้

Logo ของร้านหรือสินค้าของเราจะทำให้ร้านของเรามีเอกลักษณ์แตกต่างจากร้านอื่นๆ และสามารถสร้างความจดจำของลูกค้าต่อร้านเราได้ดียิ่งขึ้น

ดังนั้นเราจึงมักเห็นว่าป้ายชื่อสินค้ามักมีรูปภาพของสินค้าประกอบอยู่ด้วยเสมอเพื่อให้ดึงดูดสายตาผู้พบเห็น และเป็นการย้ำให้ลูกค้ารู้ว่าธุรกิจประเภทนี้ทำการค้าเกี่ยวกับสินค้าประเภทใด อาทิ ร้านคอมพิวเตอร์ ก็มักจะมีโลก้เป็นรูปคอมพิวเตอร์ ร้านหน้าสือโลโก้รูปหนังสือ ร้านจัดสวนโลโก้รูปต้นไม้ เป็นต้น

นอกจากช่วยดึงดูดสายตามผู้พบเห็นแล้ว Logo สินค้ายังช่วยให้ลูกค้าจดจำร้านค้าและธุรกิจของเราได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบและสีสรรของ Logo ที่เราเลือกใช้ บางร้านเลือก Logo ง่ายๆ เป็นอักษรย่อของร้าน บางครั้งใช้รูปภาพ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความของของเจ้าของธุรกิจเอง

Logo ไม่เพียงนำไปใช้ติดกับป้ายชื่อร้าน-ธุรกิจของเราเท่านั้นหากแต่ยังนำไปใส่ในนามบัตรของเราด้วยเพื่อตอกย้ำการจดจำของลูกค้าต่อกิจการของเราใด้ดียิ่งๆ ขึ้นไป

ทั้งนี้นิตยสาร Thai Brand Marketing (อ้างถึงใน Google กูรู, 2553 : ออนไลน์) ได้กล่าวถึงเคล็ดลับการออกแบบโลโก้ 10 ข้อคือ
1.เน้นความเรียบง่ายเป็นหัวใจหลัก ขอให้ระลึกไว้ว่า โลโก้เป็นบันไดเพียงขั้นหนึ่ง ท่านไม่อาจให้คำอธิบายแผนงานธุรกิจของท่านทั้งหมดบนบันไดเพียงขั้นเดียว
2.ดึงดูดใจผู้พบเห็น และควรมีที่ว่างให้ผู้พบเห็นค้นหาความหมายที่ต้องการสื่อออกมา ทางโลโก้นั้นด้วยตนเองบ้าง ทั้งนี้ต้องดูไม่ยากเกินไปด้วย
3. มองไปข้างหน้า คิดถึงความยั่งยืนของโลโก้
4. ใช้ภาพลายเส้นที่สะอาดตาชัดเจน ไม่ใช้สีมาก ให้ตัดกัน ( contrast ) และความสมดุลย์ ( balance) ในตัว
5. มีความยืดหยุ่น พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
6. จดจำได้ง่าย
7. สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ โลโก้จะต้องออกมาทำให้ลูกค้าสามารถจินตนาการถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการของท่านได้ง่ายด้วย
8.เลือกสีอย่างสร้างสรรค์ เลือกสีโลโก้ให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย และไปได้บนวัสดุต่าง ๆ เช่นนามบัตร หรือกระดาษซองจดหมาย
9. มีเอกลักษณ์เฉพาะตน เจ้าของกิจการควรทำวิจัยธุรกิจและกลุ่มเป้าหมายก่อนที่จะออกแบบโลโก้ เพื่อให้ทราบถึงลักษณะของธุรกิจเพื่อให้โลโก้ของท่านไม่ไปคล้ายคลึงกับของผู้อื่น
10. ใช้ได้ในทุกลักษณะ โลโก้ที่ดีควรใช้ได้ในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นบนป้ายหัวกระดาษเขียนจดหมาย นามบัตร ตัวสินค้าหรือเว็บไซต์ บางครั้ง โลโก้สามารถใช้ได้ดีบนเว็บไซต์หรือบิลบอร์ด แต่ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้บนปากกาหรือถ้วยกาแฟ เพราะฉะนั้นท่านควรคำนึงถึงจุดนี้ด้วย เนื่องจากในการสร้างความจดจำในแบรนด์นั้น ท่านจะต้องเผยแพร่ ท่านจะต้องเผยแพร่โลโก้และภาพลักษณ์ของท่านให้สม่ำเสมอที่สุดเท่าที่จะทำได้


เอกสารอ้างอิง
Google กูรู. 2553. ประโยชน์ของโลโก้คือ. ออนไลน์. เข้าถึงได้จาก
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=590d9151c4b82f0e

วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

SMEs ต้องมีชื่อกิจการ

SMEs อย่างเราถึงจะเป็นธุรกิจเล็กๆ แต่ก็ต้องมีชื่อร้านเหมือนกันนะ แหมก็ถ้ามีลูกค้าประจำเขาจะได้เรียกกันถูกว่าชื่อร้านอะไร เดี๋ยวเขาไม่รู้ชื่อร้านเราแล้วไปบอกว่า "ร้านขายลูกชิ้นหน้า เซเว่น" คนฟังอาจจะซื้อลูกชิ้นผิดร้านได้นะเออ ^^

การตั้งชื่อร้าเราต้องพิจารณาขนาดกิจการของเรา และลักษณะกิจการของเราด้วยว่าเป็นเช่นไร ถ้าร้านของเราไม่ใช้ร้านใหญ่โตอะไรการตั้งชื่อก็ไม่ต้องเป็นทางการมากก็พอได้ แต่หากเป็นร้านค้าที่ต้องการไปขายในห้างสรรพสินค้า หรือมีลูกค้าเป็นห้างร้านบริษัท การตั้งชื่อก็ต้องดูน่าเชื่อถือตามกลุ่มลูกค้าของเราไปด้วย

ทั้งนี้การตั้งชื่อร้านให้เริ่มมองจากชนิดของธุรกิจของเรา
- อาจตั้งชื่อตามสินค้าแล้วต่อด้วยชื่อเรา เช่น "ลูกชิ้นน้องแพน" "น้ำพริกครูอ้วน" "ส้มตำป้าป๊อก" "เครื่องเขียนลุงดาว"
- ตั้งชนิดสินค้าตามด้วยชื่อสถานที่ เช่น "ก๋วยเตี๋ยวรามอินทรา" "ราดหน้าไทรน้อย" "ผัดไทยท่าเตียน"
- ตั้งชื่อตามชนิดสินค้า + คำที่ดูมีเอกลักษณ์ เช่น ชายสี่หมี่เกี๊ยว น้ำพริกอินเตอร์ ก๋วยเตี๋ยวท่าสยาม
- ตั้งแบบฟรีไตล์ คือ จะตั้งชื่อใดๆ ก็ได้ตามใจเจ้าของกิจการแต่ให้คำนึงถึงการจดจำของผู้ซื้อว่าให้เขาจำร้านเราได้ง่ายๆ เช่น ร้านสีฟ้า (ร้านอาหาร) ร้านสโนว์บอล (ร้านเครื่องเขียน) ร้าน เปา เปา เยาวราช (ร้านกิ๊ฟช็อบ)

การตั้งชื่อที่ดีจะสามารถทำให้ลูกค้าจดจำร้านค้าและธุรกิจของเราได้เป็นอย่างดี อีกทั้งสามารถสร้างการตอบรับและความต้องการซื้อได้ในขณะเดียวกัน ลองคิดดูว่าเราเดินผ่านตลาดขณะกำลังหิวหันไปเห็นร้านผัดไทยร้านใหม่ ชื่อร้าน "ผัดไทยอันดามัน" เราก็คงต้องจินตนาการถึงกุ้ง ปลาหมึก ตัวใหญ่ๆ ที่จะอยู่ในผัดไทยที่ร้านนั้นขายอยู่ ถ้าเราคิดอยากทานผัดไทยอยู่แล้ว ระหว่างร้านผัดไทยกุ้งสด กับร้านผัดไทยอันดามัน เราคงต้องขอลองผัดไทยอันดามันก่อน ด้วยชื่อที่ดึงดูดใจนั่นเอง

นอกจากนี้จากที่กล่าวในตอนแรก หากร้านของเราจำเป็นต้องเจาะกลุ่มลูกค้าระดับห้างร้าน บริษัท แล้วนั้นจำเป็นต้องใช้ชื่อให้ดูเป็นทางการ น่าเชื่อถือ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะตั้งชื่อโดยใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ที่เราจัดจำหน่ายเป็นหลัก หรืออาจจะใช้ชื่อเจ้าของกิจการร่วมอยู่ด้วย บางครั้งก็ใช้ชื่อภาษาอังกฤษเพื่อให้ดูน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้น ตัวอย่าง ร้านสุวรรณการพิมพ์ ร้านเบญวรรณมาร์เกตติ้ง ร้าน ART & PRINT เป็นต้น

เทคนิคการตั้งชื่ออีกข้อหนึ่งที่ควรทำคือ ให้เจ้าของธุรกิจลองตั้งชื่อไว้หลายๆ ชื่อ แล้วคัดชื่อที่ชอบมากที่สุดสัก 5 ชื่อ จากนั้นนำไปให้เพื่อนๆ ญาติ คนรู้จักเลือกว่าเขาเหล่านั้นชอบชื่อไหนมากที่สุด หลังจากนั้นจึงนำมาพิจารณาอีกครั้งว่าชื่อไหนที่คนส่วนใหญ่ชอบ ซึ่งน่าจะแสดงว่าในอนาคตเมื่อเราเปิดกิจการชื่อที่มีคนชอบมากที่สุดลูกค้าของเราก็น่าที่จะชอบชื่อนี้ด้วยเช่นกัน วิธีนี้นับเป็นการใช้หลักการทำวิจัยธุรกิจมาใช้กับการเลือกชื่อร้านตามสัดส่วนความชอบของกลุ่มตัวอย่างนั่นเอง

วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553

SMEs ธุรกิจขนาดเล็กอย่างเรา...ต้องจัดแต่งหน้าร้านให้น่าซื้อ

การจัดวางสินค้าและหน้าร้านให้ดูโดดเด่นและมีเอกลักษณ์สามารถส่งผลให้ผู้ซื้อหันมาให้ความสนใจในผลิตภัณฑ์ของเราได้ โดยอาจศึกษาจากตำรา-หนังสือ-นิตยสารต่างๆ เกี่ยวกับการจัดวางสินค้า ตกแต่งร้าน หรือลองสังเกตจากร้านค้าอื่นๆ ที่มีลักษณะการจัดจำหน่ายสินค้าคล้ายคลึงกับสินค้าของเรา

เบื้องต้นการจัดวางสินค้าควรมีระเบียบเรียบร้อย สามารถหยิบจับได้สะดวก ต่อมาคือความสวยงามของหน้าร้าน สีสัน รูปแบบ รวมไปถึงการนำสิ่งของต่างๆ มาประดับให้ร้านค้าดูสวยงามน่าเข้ามาซื้อของ และสุดท้ายคือความสะอาดสะอ้านของร้านค้าของเรา

โดยวิธีการจัดหน้าร้านลักษณะนี้สามารถนำไปปรับรูปแบบให้เหมาะสมได้กับธุรกิจร้านค้าขนาดเล็กได้ทุกๆ แบบ ทั้งสินค้าประเภทอาหาร กิ๊ฟช็อบ ออฟฟิชขนาดเล็ก รวมไปถึงร้านเช่าหนังสือ - ซีดี-ดีวีดี

ความสะอาดและสุขอนามัยมักถูกมองไว้เป็นอันดับท้ายๆ เสมอในธุรกิจทุกระดับ โดยเราจะได้ข่าวเสมอเรื่องการถูกร้องเรียนเรื่องความสะอาดของร้านจำหน่ายอาหารทั้งขนาดใหญ่และเล็ก เป็นข่าวดังบ้างข่าวเล็กบ้าง เป็นระยะๆ ดังนั้นหากเราดำเนินธุรกิจของเราเอง แม้เราจะไม่ได้จำหน่ายอาหารหรือสินค้าที่เกี่ยวข้องกับสุขอนามัย เราก็จำเป็นต้องพึงระลึกว่าความสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นเป็นอันดับแรก ก่อนความสวยงามเสียด้วยซ้ำ หรือถ้าสามารถดำเนินไปพร้อมกันได้ทั้งความสะอาด ความมีระเบียบ และความสวยงาม ก็ยิ่งเป็นผลดีกับเรายิ่งขึ้น

เมื่อร้านค้าของเรามีความสะอาดดีแล้ว ต่อมาคือความสวยงามและมีจุดเด่น หลายท่านคิดขึ้นมาว่าจุดเด่นหาได้อย่างไรกันเล่า ก็ต้องพิจารณาจากสินค้าที่เราขายอยู่นั่นเองว่าเป็นสินค้าอะไร จากนั้นก็ให้คิดว่าหากเราเป็นลูกค้าเราจะสนใจร้านค้าที่ขายของและจัดร้านแบบไหน ลองร่างความคิดของเราในกระดาษและลองนำมาจัดร้านจริงๆ

ตัวอย่างร้านค้าที่สร้างเอกลักษณ์ให้กับตนเองให้มีจุดเด่นและส่งผลให้สินค้าขายดีอย่างต่อเนื่อง ผู้เขียนนึกถึงร้านจำหน่ายลูกชิ้น ไส้กรอก บาบิคิว หมูปิ้ง ลักษณะอาหารซื้อแล้วเดินทานตามปรกติ **แล้วเขามีจุดเด่นตรงไหนหรือ... ร้านนี้แตกต่างจากร้านขายลูกชิ้น ไส้กรอกทอดปรกติตรงที่ 1) คัดเลือกสินค้าเกรดสูงกว่าปรกติทั้งลูกชิ้น ไส้กรอก และเนื้อหมู เนื้อไก่ สำหรับนำมาทำบาบิคิวจำหน่าย 2) ไม้เสียบลูกชิ้นของร้านนี้ใช้ไม้ขนาดใหญ่กว่าปรกติที่เรามักเห็นอยู่ทั่วไปที่มีขนาดเล็ก ทำให้เพิ่มความน่าจับและมองดูว่าลูกชิ้นแต่ละไม้มีขนาดใหญ่กว่าปรกติ 3) ถาดสำหรับวางลูกชิ้น ไส้กรอก ฯลฯ เป็นถาดสแตนเลสอย่างดีสะอาดสะอ้านมองแล้วน่าซื้อและดูน่ารับประทาน 4) โต๊ะวางสินค้าล้อมด้วยผ้าปูโต๊ะเหมือนซุ้มขายอาหารตามห้างสรรพสินค้า เพียงเท่านี้ก็ทำให้ร้านนี้มีลกค้าให้ความสนใจเข้าไปซื้อลูกชิ้น ไส้กรอก และบาบิคิวกันล้นหลาม โดยไม่เกี่ยวกับราคาที่สูงกว่าร้านขายอาหารประเภทเดียวกันที่ราคาถูกกว่า โดยที่ทุกๆ ข้อที่ร้านค้าแห่งนี้จัดทำเพิ่มขึ้นทั้งเกรดของลูกชิ้น ไม้เสียบ ถาดแสตนเลส และผ้าคลุม ไม่ได้เพิ่มต้นทุนของการขายสินค้ามากมากอะไรเลย แต่สิ่งเหล่านี้แสดงถึงความใส่ใจและการมองความต้องการของลูกค้าเป็นหลักมากกว่ามองจากมุมมองของฝั้งผู้ขายเป็นสำคัญ

ร้านค้าแห่งนี้อยู่ที่ตลาดนัดสวนจตุจักรโครงการ 21 ผู้เขียนได้เคยไปมาเมื่อ 3 ปีก่อนไม่ทราบว่าปัจจุบันยังคงขายอยู่หรือไม่ นอกจากนี้หากอยากดูต้นแบบการจัดหน้าร้านที่สวยงามและมีเอกลักษณ์สามารถเดินดูในตลาดนัดสวนจตุจักรได้ เพราะร้านค้าส่วนใหญ่จัดร้านได้น่าซื้อเช่นกัน

วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใช้อินเตอร์เน็ตหาสินค้าเข้าร้าน

ในเมื่อเราใช้อินเตอร์เน็ตเปิดรับข่าวสารตั้งมากมายทุกๆ วันอยู่แล้วก็ควรใช้อินเตอร์เน็ตให้เป็นประโยชน์กับธุรกิจขนาดเล็กของเราซะเลยดีกว่า

ทุกวันนี้มีร้านค้าออนไลน์มากมายที่นำรูปสินค้ามาจัดวางโชว์ให้เราได้พิจารณา หรือแม้แต่บางร้านไม่ได้ขายของในอินเตอร์เน็ตแต่ใช้อินเตอร์เน็ตในการโฆษณาสินค้า ดังนั้งจึงเป็นประโยชน์กับเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กแบบพวกเราที่จะใช้ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตให้เป็นประโยชน์กับเราเสีบเลย

มีผู้ทำธุรกิจเกี่ยวกับการออกแบบกราฟฟิกที่จำเป็นต้องใช้กระดาษสำหรับพิมพ์งานที่ต้องการความละเอียดสูง ไปหาซื้อตามร้านขายสินค้าจำพวกนี้หรือขอใบเสนอราคาจากร้านค้าใหญ่ๆ ก็ได้ราคาค่อนข้างสูง และในที่สุดเมื่อเขาลองค้นหาร้านขายกระดาษชนิดนี้ทางอินเตอร์เน็ตเขาพบว่า ราคาของกระดาษถูกกว่าที่ร้านก่อนหน้าแจ้งกับเขาค่อนข้างมาก อีกทั้งยังมีบริการจัดส่งทางไปรษณีย์เพิ่มความสะดวกแก่เขามากขึ้น ทำให้เขาได้สินค้าราคาถูกและประหยัดเวลาในการเดินทางไปรับสินค้าในเวลาเดียวกัน

นอกจากนี้สินค้าประเภทกิ๊ฟช็อบที่เราเห็นมีผู้นำมาขายตามตลาดนัดต่างๆ หากลองหาข้อมูลทางอินเตอร์ก็จะพบว่ามีบริการขายส่งเช่นเดียวกัน รวมไปถึงสินค้า 20 บาทและสินค้าจากประเทศจีน ฯลฯ ดังนั้นหากเราต้องการความแตกต่างของสินค้าและต้องการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายด้านการเดินทางขอให้ลองใช้อินเตอร์เน็ตให้เป็นประโยชน์ดู โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ต่างจังหวัดการใช้บริการสั่งสินค้าทางอินเตอร์เน็ตจะช่วยให้ร้านค้าของท่านได้เปรียบร้านค้าอื่นๆ ค่อนข้างชัดเจน

แต่การสั่งสินค้าจากอินเตอร์เน็ตก็ขอให้เราพิจารณาความน่าเชื่อถอของร้านค้านั้นๆ ด้วย อาทิ ทะเบียนการค้า ที่ตั้ง การถาม-ตอบกระทุ้ต่างๆ ของร้านค้า หรืออาจลองนำชื่อร้านหรือชื่อผู้ขายหรือเบอร์โทรศัพท์ของร้านที่เราจะสั่งซื้อไปค้นหากับ search engine ว่ามีพฤติกรรมไม่โปร่งใสในอดีตหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยทางการเงินของเรา ....สู้ๆๆๆ

วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ทำร้านค้าออนไลน์..ดีไหมนะ ???

การเริ่มต้นทำธุรกิจเพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเองนับเป็นเรื่องที่ดีแน่นอน ดังนั้นการทำร้านค้าออนไลน์โดยการมีเว็บไซต์เป็นของตนเองจึงนับเป็นการเริ่มต้นที่ดีสำหรับคนที่มีความรู้ในการใช้งานคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ตอยู่บ้าง

แต่ทั้งนี้ร้านค้าออนไลน์ของเราก็เหมือนกับร้านค้าในโลกของความเป็นจริงนั่นแหละ คือสามารถนำแนวคิดต่างๆ มาจับได้ อาทิ แนวคิด 4P ของ Kotler คือ Product Price Place Promotion

Product หรือ ผลิตภัณฑ์ : มองได้ว่าสินค้าในโลกของความเป็นจริงถ้าสินค้าไม่มีคุณภาพ ไม่มีจุดเด่น ไม่สวยงาม หรือเป็นสินค้าที่ตกรุ่น ไม่เป็นที่ต้องการของลูกค้าก็ย่อมไม่สามารถขายได้ ในโลกของการขายแบบออนไลน์ก็เช่นเดียวกัน หากร้านค้าของคุณมีสินค้าที่ไม่น่าดึงดูดและไม่เป็นที่สนใจของลูกค้า แม้ว่าร้านค้าจะสวยงามหรือมีคนเข้ามาชมมากมายแต่การขายก็คงจะเกิดขึ้นได้ยากเมื่อสินค้าขาดการชักจูงให้ลูกค้ายอมจ่ายเงินซื้อสินค้าได้ ดังนั้นการเลือกสินค้าสำหรับนำมาจัดจำหน่ายจึงควรศึกษากลุ่มเป้าหมายว่ามีความสนใจสินค้าชนิดใด รุ่นใดอยู่ และสินค้าที่เราตั้งใจจัดจำหน่ายจะสามารถตอบความต้องการของลูกค้าได้หรือไม่ อย่าใช้การคาดเดาของตนเองแต่ให้ศึกษาความต้องการของตลาดเป้าหมาย โดยทำได้จากการลองเข้าไปในเว็บไซต์ซื้อขายสินค้าที่เราสนใจทำการค้า เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความสนใจของบุคคลที่เข้ามาในเว็บไซต์ดังกล่าว หรืออาจใช้ search engine อาทิ google หรือ yahoo ให้เป็นประโยชน์ โดยลองพิมพ์ชื่อสินค้าที่เราสนใจนำมาขายลงไปเพื่อดูจำนวนผู้ค้นหาด้วยคำค้นดังกล่าว

Price หรือ ราคา : ภายหลังเมื่อเลือกสินค้าสำหรับจำหน่ายได้แล้วและตั้งร้านค้าแล้ว อีกสิ่งที่สำคัญคือการตั้งราคา สิ่งสำคัญที่ต้องพึงระลึกคือร้านค้าออนไลน์อื่นๆ ที่เหมือนกับร้านของเรามีอยู่มากมาย ดังนั้นกรณีการขายสินค้าพื้นฐานที่มีการจำหน่ายอยู่ทั่วไป การตั้งราคาที่แพงกว่าร้านค้าอื่นๆ มากอาจทำสินค้าของเราไม่เป็นที่สนใจของลูกค้า เนื่องจากผู้ซื้อต้องทำการเปรียบเทียบราคากับที่อื่นๆ ก่อนตัดสินใจซื้อจริง แต่การตั้งราคาที่ถูกมากๆ เกินไปก็ทำให้กำไรของเราน้อยลงเช่นกัน จึงต้องพิจารณาและคำนวณต้นทุนและกำรไห้ดีก่อนตั้งราคาขาย หรือถ้าหากคำนวณแล้วกำไรน้อยจนอาจทำให้เราเข้าเนื้อเมื่อมีการสต็อกของไว้เป็นเวลานานๆ ก็ควรตัดสินค้านั้นๆ ออกจากรายการขายไปเลยน่าจะเป็นผลดีกว่า แต่หากกรณีสินค้าของเราเป็นสินค้าที่แตกต่างจากสินค้าอื่นๆ อาทิ สินค้าแฮนเมด งานทางศิลปะ อาหารบางชนิด หรือสินค้าที่มีเอกลักษณ์เราก็สามารถตั้งราคาขายได้ตามความเหมาะสม โดยดูจากคุณค่าและคุณภาพของงาน วัตถุดิบที่ใช้ สินค้าประเภทนี้เราสามารถตั้งราคาขายที่แพงๆ ได้ แต่ก็ต้องดูด้วยเช่นกันว่ากลุ่มเป้าหมายของเราจะมีกำลังทรัพย์ที่จะจ่ายให้กับสินค้าของเราหรือไม่ด้วย เช่น เราทำร้านขายเบเกอรี่ออนไลน์ กลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่น นักศึกษา และคนทำงาน ก็ต้องตั้งราคาโดยพิจารณาจากกลุ่มคนว่าน่าจะสามารถจ่ายเงินซื้อสินค้าเราไหวหรือไม่ในราคาที่จะตั้ง

Place หรือ การจัดจำหน่าย/วิธีการนำสินค้าไปสู่มือของลูกค้า : เมื่อเราตัดสินใจเปิดร้านค้าทางอินเตอร์เน็ตแล้ว เมื่อสร้างร้านเสร็จเรียบร้อยก็ใช่ว่าจะรอให้คนเข้ามาเจอเราและสั่งซื้อของเราได้ในทันที แต่เราจำเป็นต้องหาช่องทางให้คนเข้ามาเจอเว็บไซต์เราด้วย ก็เปรียบได้กับร้านค้าใหม่ของเราตั้งอยู่ในซอยหนึ่งมีคนเดินผ่านไปมา เห็นร้านของเราก็อาจเดินเข้ามาดูและซื้อสินค้า แต่คนที่อยู่ในซอยอื่นล่ะเขาคงไม่รู้จักร้านของเรา จึงจำเป็นต้องหาทางทำให้เขาร้จักร้านเรา อาจทำโดยการแจกใบปลิว หรือติดป้ายโฆษณา ส่วนเว็บไซต์ของเราก็ทำได้โดยไปโฆษณาตามเว็บไซต์ที่อนุญาตให้มีการประกาศฟรี หรือ submit เว็บไซต์กับเว็บไซต์ที่มีบริการรับลงทะเบียนเว็บไซต์ หรือจ่ายเงินเพื่อโฆษณาตามเว็บไซต์ต่างๆ หรือโฆษณา search engine เพื่อให้คนที่ค้นหาข้อมูลต่างๆ สามารถเจอเราได้ง่ายขึ้น

Promotion หรือ การส่งเสริมการตลาด : เมื่อมีผู้เข้าชมเว็บไซต์และสินค้าของเราแล้วการเพิ่มความสนใจแก่ตัวสินค้าสามารถทำได้โดยการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าอยากจับจ่ายสินค้าผ่านเว็บไซต์ของเรา ทั้งนี้สามารถเลือกวิธีการได้หลายวิธีตามความเหมาะสม เช่น จัดกิจกรรมส่วนลด โปรโมชั่นประจำเดือน การสะสมยอดเพื่อลดราคา หรือการแจกสินค้าพิเศษต่างๆ ทั้งนี้ Promotion เป็นสิ่งค่อนข้างจำเป็นสำเร็จเว็บไซต์ออนไลน์ เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่จะเปรียบเทียบการให้บริการและประโยชน์ที่ได้รับสูงสุดจากการซื้อสินค้า หากร้านค้าของเราหมั่นทำกิจกรรมบ่อยๆ ลุกค้าก็จะกลับเข้ามาติดตามกิจกรรมในช่วงต่างๆ ซึ่งเป็นผลดีต่อจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์และการรักษาฐานลูกค้าเก่าไปในตัว


ผู้อ่านจะเห็นได้ว่าไม่ใช่เพียงการสร้างร้านค้าออนไลน์ขึ้นมาแล้วจะเสร็จสิ้น แต่เจ้าของร้านต้องหมั่นดูแลประกาศให้คนอื่นๆ ได้รู้จักกับร้านค้าของเราอย่างสม่ำเสมอ รู้จักจัดหากิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ผู้ที่เข้ามาในเว็บไซต์ของเราอยากย้อนกลับเข้ามาอีก อีกทั้งหมั่นสังเกตความต้องการและบุคลิกของลุกค้าเก่าๆ แต่ละรายเพื่อนำไปวางแผนจัดกิจกรรมให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งๆ ขึ้น

ดังนั้นการทำร้านค้าให้ติดตลาดและมีลูกค้าเพิ่มขึ้นจึงเป็นสิ่งท้าทายและต้องใช้ความอุตสาหะ และไม่นานความสำเร็จจะตามมา

วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ธุรกิจของเรา...ต้องเริ่มจากสิ่งใกล้ตัวเรา

การเริ่มต้นทำธุรกิจ หากยังไม่มีแนวทางที่แน่ชัดเกี่ยวกับธุรกิจที่จะทำ ขอให้ท่านพิจารณาจากสิ่งใกล้ตัวก่อน ทั้งความถนัด ความชอบ ความรู้ รวมไปถึงสถานที่หรือร้านค้าต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียงที่พักอาศัย

หลังจากนั้นจึงมาพิจารณาว่าจะเริ่มต้นธุรกิจจากจุดใด

- หากเริ่มจากความชอบให้พิจารณาว่าความชอบของเราสามารถนำไปดัดแปลงเป็นอาชีพได้หรือไม่ อาทิ น้องคนหนึ่งชอบเข้าเว็บไซต์ความสวยความงามและซื้อของผ่านอินเตอร์เน็ต เมื่อเรียนจบปริญญาตรีก็มีความคิดอยากทำธุรกิจของตัวเองจากเงินทุนจำนวนไม่มาก จึงใช้ความชอบของตนเองเรื่องความสวยความงามตั้งร้านค้าในอินเตอร์เน็ต โดยนำสินค้าจากหลายที่มาขายทั้งตลาดสำเพ็ง และสั่งจากเว็บไซต์อื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เนื่องจากน้องคนนั้นมีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจที่ตั้งใจทำค่อนข้างสูงจึงรู้ต้นทุนและการตั้งราคาที่เหมาะสม และทราบกลุ่มลูกค้าของตนเองเป็นอย่างดี เพียงระยะเวลาไม่นานเว็บไซต์ก็ได้รับความนิยมและสามารถขายสินค้าได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการทำธุรกิจโดยเริ่มต้นจากสิ่งที่ชอบมีข้อได้เปรียบคือเจ้าของกิจการจะมีความกระตือรือร้นและมีแรงกระตุ้นในกิจการที่ทำ รวมไปถึงมีความรู้ในธุรกิจค่อนข้างดี การผลักดันให้ธุรกิจประสบความเสร็จได้ในระยะยาวจึงไม่ใช่เรื่องยาก เมื่อรวมไปกับการจัดการบริหารด้านการเงินที่ดีก็จะยิ่งส่งผลให้ธุรกิจยั่งยืนได้ไม่ยาก

- กรณีพิจารณาเริ่มต้นธุรกิจจากความรู้ที่เรามีไม่ใช่เรื่องยาก เพียงขอให้ผู้เริ่มต้นวางแผนทำธุรกิจมองดูว่าท่านมีความรู้ในเรื่องใดบ้าง (ที่ค่อนข้างดี) ที่สามารถนำมาประยุกต์เป็นอาชีพได้ และน่าจะสร้างเงินให้กับธุรกิจได้จริง ขอให้ลองพิจารณาว่าความรู้นั้นนำมาใช้กับธุรกิจได้จริงๆ หรือไม่ มีร้านอินเตอร์เน็ตและรับพิมพ์งานร้านหนึ่งเจ้าของมีความสามารถด้านถ่ายภาพ แต่ด้วยความไม่มั่นใจเรื่องการรายได้จากการถ่ายภาพเป็นอาชี เมื่อต้องทำกิจการในพื้นที่ใกล้หอพักนักศึกษาจึงเลือกเปิดร้านอินเตอร์เน็ตที่ตนเองมีความรู้น้อยกว่าถ่ายภาพ แต่เมื่อธุรกิจดำเนินไปสักพักเริ่มมีคู่แข่งเพิ่มขึ้น และรายได้ลดลง เจ้าของร้านจึงได้คิดหางานอื่นเข้ามาเสริมรายได้ของร้าน ด้วยว่ามีความรู้เรื่องถ่ายภาพจึงคิดจะถ่ายภาพด่วนติดบัตร โดยคิดราคาถูกกว่าร้านถ่ายรูปปรกติจาก 120 บาท เป็น 70 บาทและรอรับได้เลย (เนื่องจากปัจจุบันมีกระดาษพิมพ์ภาพถ่ายจากเครื่องพิมพ์ INKJET ราคาต่อแผ่น 5-10 บาท) เมื่อนำป้ายติดหน้าร้านปรากฎว่ามีลูกค้ามาถ่ายภาพติดบัตรเยอะกว่าที่คาด รายได้ดีกว่าการทำร้านอินเตอร์เน็ต ในที่สุดเขาก็ได้ทำงานที่รักและมีความรู้ไปพร้อมๆ กัน โดยในที่สุดก็ปิดร้านอินเตอร์เน็ตลงเหลือรับถ่ายภาพและพิมพ์งานเท่านั้น

- แหล่งซื้อและจำหน่ายสินค้าที่เราจะพิจารณานำมาขายก็มีผลต่อการเลือกทำธุรกิจขนาดเล็กของเราเช่นกัน ทั้งนี้เพราะถึงแม้ธุรกิจจะทำรายได้ดี แต่มีต้นทุนการเดินทางที่สูงหรือสินค้านั้นใช้เวลาในการขนส่งที่ยาวนาน กำไรที่ได้จากสินค้าก็ต้องน้อยลงตามส่วนต่างของราคาและระยะเวลาที่ของมาถึงมือเราและส่งต่อถึงลูกค้า ดังนั้นหากเราสามารถหาสินค้าที่อยู่ใกล้ที่พักมาจัดจำหน่ายได้ย่อมประหยัดเวลาในการเดินทางไปซื้อสินค้า อีกทั้งเราสามารถซื้อสินค้าดังกล่าวต่อครั้งในจำนวนน้อยได้ซึ่งทำให้ไม่ต้องลงทุนไปกับการสต็อกสินค้า ในอดีตบ้านของผู้เขียนอยู่ใกล้ตลาดขายส่งสินค้าขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง เมื่อมีเทศกาลจัดจำหน้ายสินค้าตามงานต่างๆ ก็มักจะซื้อลูกชิ้น และไส้กรอก จากตลาดแห่งนั้นไปขายได้กำไรค่อนข้างดีเพราะตลาดค้าส่งจะจำหน่ายสินค้าราคาถูกกว่าตลาดปรกติ อีกทั้งเราสามารถซื้อสินค้าแบบวันต่อวันได้ครั้งละเท่าที่จำเป็นต้องใช้ เพราะของสดไม่สามารถซื้อเก็บไว้หลายวันได้ ดังนั้นการนำแหล่งจัดซื้อสินค้าเป็นที่ตั้งในการพิจารณาค้าขายจึงเป็นเรื่องสำคัญต่อผลกำไรของธุรกิจของเราอย่างชัดเจน

อยากให้ผู้เริ่มต้นพิจารณาว่าควรเริ่มต้นจากจุดใดระหว่างความชอบ ความรู้ และแหล่งซื้อ-ขายสินค้า หรือหากสามารถรวมทั้ง 3 ข้อเป็นธุรกิจของท่านได้ก็นับเป็นเรื่องดี

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เริ่มธุรกิจส่วนตัว…..หาพื้นที่ใกล้ตัว...อย่ามัวรออะไร!!!

การเริ่มทำกิจการส่วนตัวจุดประสงค์หลักของกิจการส่วนใหญ่คือต้องการเป็นนายของตัวเอง ไม่อยู่ใต้อาณัติ คำสั่งของใคร สามารถจัดสรรเวลาให้กับตนเองและครอบครัวได้มากกว่าที่เคยเป็นในอดีต ดังนั้นการร่นระยะทางของการเดินทางก็ย่อมสามารถทุ่นเวลาในการติดต่อประสานงานและดำเนินธุรกิจของคุณไปด้วย เพราะฉะนั้นธุรกิจส่วนตัวหากเลือกได้ควรมองหาทำเลใกล้ที่พักอาศัย เดินทางสะดวก และง่ายต่อการขนส่งสินค้าทั้งตัวเราและลูกค้า หรือหากเป็นไปได้ดำเนินกิจการในรูปแบบ Home Office ได้ก็คงจะดีไม่ใช่น้อย

ผู้ที่เริ่มต้นดำเนินธุรกิจส่วนตัวขนาดเล็กโดยปรกติจะมีเงินทุนจำกัด หากสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านการเดินทางไปได้ก็จะเป็นผลดีต่อการเพิ่มผลกำไรให้มากขึ้น เพราะการเดินทางและขนส่งในปัจจุบันมีค่าใช้จ่ายเบื้องต้นค่อนข้างสูงทั้งค่าน้ำมัน และค่าสึกหรอของพาหนะ จึงจะเห็นว่าในปัจจุบันมีผู้หันไปทำธุรกิจส่วนตัวผ่านช่องทางออนไลน์เป็นจำนวนมากเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของตัวเจ้าของกิจการ เพื่อสามารถบริหารเวลาเพิ่มขึ้นโดยลดช่วงเวลาในการเดินทาง การทำธุรกิจผ่านช่องทางออนไลน์ผู้ขายสามารถสั่งซื้อและจำหน่ายสินค้าออนไลน์ได้ทั้งสอง โดยสามารถรวบรวมยอดการสั่งซื้อเพื่อส่งพร้อมกันโดยการแสดงระยะเวลาในการจัดส่งให้แน่นอนไว้ก่อนล่วงหน้า อาทิ กำหนดส่งสินค้าอาทิตย์ละ 2 วัน เป็นต้น

กรณีผู้มีความรู้การขายสินค้าออนไลน์การทำธุรกิจโดยอาศัยที่พักเป็นที่ดำเนินงานก็เป็นความคิดที่ดีเช่นกัน อาทิ รับพิมพ์งาน พริ้นงาน ถ่ายภาพติดบัตร ถ่ายเอกสาร รวมไปถึงขายของอื่นๆ อาทิ ขนม น้ำ อาหารตามสั่ง และอื่นๆ โดยพิจารณาจุดที่ตั้งว่าเหมาะสมกับการทำธุรกิจชนิดใด ผู้เขียนเองตั้งแต่เรียนระดับปริญญาตรีก็ทำป้ายขนาด 70 x 50 ซ.ม. ติดไว้หน้าบ้าน (ทาวน์เฮาส์) รับพิมพ์งาน – รายงาน ก็มีงานเข้ามาให้พิมพ์ตลอดได้เงินไว้ซื้อของตั้งแต่ยังเรียนหนังสือ พอเรียนระดับปริญญาโท ก็เปลี่ยนป้ายเป็นรับวิเคราะห์สถิติสำหรับงานวิจัยก็มีงานมาไม่ขาดเช่นกัน ทั้งๆ ที่บ้านหลังปัจจุบันอยู่ท้ายซอยแต่ก็มีลูกค้ามาให้วิเคราะห์สถิติอยู่เรื่อยๆ

สุดท้ายการขายของตลาดนัดก็นับเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการทำธุรกิจขนาดเล็กของตนเอง ทั้งนี้ข้อดีของการขายของตลาดนัดคือ 1) ตลาดนัดเป็นแหล่งรวมลูกค้าที่แน่นอนและมีจำนวนค่อนข้างมาก 2) ผู้มาซื้อของตลาดนัดมีเป้าหมายชัดเจนในการหาซื้อสินค้า 3) สินค้าที่นำมาวางจำหน่ายตลาดนัดไม่จำเป็นต้องเป็นสินค้าลงทุนสูง 4) ร้านขนาดเล็กก็สามารถตั้งขายในตลาดนัดได้ 5) มีความสะดวกในการขยับโยกย้ายปรับเปลี่ยนพื้นที่ จะสังเกตได้ว่าร้านค้าที่ขายของตลาดนัดจะหมุนเวียนขายตามตลาดต่างๆ หลายๆ พื้นที่ในบริเวณใกล้เคียงซึ่งข้อดี คือ ลูกค้าจะเป็นกลุ่มใหม่ตลอด และไม่เกิดความจำเจในการเลือกซื้อ แต่ทั้งนี้ตลาดบางพื้นที่มีการขายเป็นพื้นที่ประจำและขายดีตลอดซึ่งหากได้พื้นที่เช่นนั้นก็นับเป็นเรื่องที่ดีเพราะ เราจะมีลูกค้าประจำที่จะจำที่ตั้งของเราได้และสะดวกต่อการเดินทางและการตั้งวางร้านค้าของเรา

เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กต้องพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่และลักษณะนิสัยของตนเองว่าชอบการทำธุรกิจประเภทใด จากนั้นจึงพิจารณาทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม บางครั้งธุรกิจที่เหมาะสมกับเราและสร้างรายได้และกำไรที่ดีแก่ธุรกิจใหม่ของเราได้ อาจจำเป็นต้องเดินทางค่อนข้างใกล้และใช้เวลาค่อนข้างมาก แต่ขณะเดียวกันก็ให้ผลตอบแทนที่ดีด้วย เจ้าของกิจการจึงอาจจำเป็นต้องเลือกที่จะเดินทางไกลขึ้นเพื่อรายได้ที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของธุรกิจของเราด้วยว่าอยู่ในภาวะที่รับได้หรือไม่

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ธุรกิจส่วนตัว…..เริ่มได้แล้ว..อย่ามัวรอให้สมบูรณ์แบบที่สุดเลย

การเริ่มต้นทำกิจการส่วนตัวครั้งแรกสำหรับผู้เริ่มต้นเป็นสิ่งท้าทายเสมอหลายคนวาดฝันให้กิจการของตนเองเริ่มต้นอย่างยิ่งใหญ่ (เท่าที่เงินทุนสนับสนุน) สวยงามและดีเลิศที่สุด เหนือกว่าธุรกิจชนิดเดียวกันที่มีก่อนหน้าสามารถทำได้

แต่ในโลกของความเป็นจริงความสมบูรณ์พร้อมทุกอย่างเป็นเรื่องที่เกิดได้ยากมากๆ ดังนี้หากจะเริ่มต้นกิจการที่ 80% ก็น่าจะทำได้บางครั้งการรอจน 100% ก็อาจจะทำให้เราหมดความกระตือรือร้น และล้มเลิกความคิดไปในที่สุดก็เป็นได้

กิจการของผู้เขียนเองที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน (ไม่ใช่เขียน Blog เน้อ) ถ้าจะให้เปรียบเทียบเรียกได้ว่าเริ่มต้นจากความพร้อมด้านอุปกรณ์เพียง 50% เท่านั้น แต่ความพร้อมด้านจิตใจเต็ม 100% จนวันนี้ผ่านมา 3 ปี ความพร้อมด้านอุปกรณ์เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 80% แต่กิจการก็สามารถดำเนินได้ด้วยดี ดังนั้นปัญหาใดๆ ก็ตามสามารถผ่านพ้นได้แน่นอนถ้าจิตใจเรามั่นคงและเชื่อมั่นในสิ่งที่ทำ

....แต่....ที่บอกว่าให้เริ่มทำได้ไม่ต้องสมบูรณ์แบบนั้น....ไม่ใช่สนับสนุนให้ลงทุนโดยไม่พร้อม เป็นที่ทราบกันดีว่าการลงทุนทุกอย่างมีความเสี่ยง เจ้าของกิจการมือใหม่ก็ต้องศึกษาภาวะของตลาด สินค้าที่จะลงทุน แนวโน้มการเจริญเติบโต โดยเฉพาะคู่แข่ง

ในความหมายของผู้เขียนคือ การเริ่มต้นทำธุรกิจส่วนตัวต้องศึกษารายละเอียดธุรกิจให้เข้าใจแจ่มชัด วางแผนการลงทุนอย่างรอบคอบ ทราบข้อดีข้อด้อยของสินค้าของเรา และกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด รวมไปถึงต้นทุนและกำไรที่ชัดเจน ในขณะเดียวกันเมื่อเตรียมทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว แม้ยังไม่พร้อมที่สุดก็น่าที่จะเริ่มต้นธุรกิจได้ เพราะในความเป็นจริงความพร้อมอยู่ที่จิตใจของเรา แม้ระบบทุกอย่างพร้อมแต่จิตใจเรายังไม่พร้อมธุรกิจของเราก็คงไม่ได้เริ่มอย่างแน่นอน .....และถ้าเตรียมทุกอย่างพร้อมแล้ว....จิตใจของท่านพร้อมแล้ว....ก็เริ่มต้นการเป็นเจ้าของกิจการกันเลยดีกว่า.......

เริ่มต้นธุรกิจขนาดเล็ก.......คุณทำได้ ++++

แน่นอนที่ว่าใครหลายๆ คนต่างต้องการเป็นเจ้านายตัวเอง การมีธุรกิจเป็นของตนเองจึงเป็นจุดมุ่งหมายในการดำเนินชีวิตของพวกเขาด้วย หลายคนในจำนวนนั้นศึกษาหาข้อมูล วางเป้าหมายและกระโจนลงสู่ความท้าทายของการทำธุรกิจส่วตัว แต่ขณะเดียวกันก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังขาดความมั่นใจในการเริ่มต้น ยังคงอยู่ในช่วงค้นคว้ารวบรวมข้อมูล รวมไปถึงรวบรวมกำลังใจและกำลังเงินในการเริ่มต้นกับธุรกิจแรกของพวกเขา

เป็นที่ทราบดีว่าการเริ่มต้นมักท้าทาย แต่ในขณะเดียวกันก็ช่างน่าหวาดหวั่น ดังนั้นการเริ่มต้นจากการรวบรวมข้อมูลให้ครบทุกด้านจึงถูกต้องแล้ว ....แต่จงจำไว้อย่างหนึ่งว่าการได้ลองเริ่มต้นเท่านั้นจึงจะบอกได้ว่าสิ่งที่เราได้ทำนั้นสำเร็จจริงหรือไม่ ...จงอย่ากลัวที่จะเริ่มต้น ...เก็บรวมรวมข้อมูลทำได้เพื่อเพิ่มความมั่นใจไม่ใช่เพื่อเพิ่มความหวาดหวั่น

SMEs Can Do ขอเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการนำข้อมูลการเริ่มต้นทำธุรกิจขนาดเล็ก - เล็กมาก ^^ มาให้แก่ผู้อ่าน โดยนำจากประสบการณ์การทำธุรกิจขนาดเล็กของตนเองและครอบครัวมากว่า 20 ปีมาเป็นข้อมูลแก่เพื่อนๆ และหวังว่าผุ้อ่านจะนำข้อมูลที่ได้ไปปรับใช้กับธุรกิจของตนเองให้ประสบผลสำเร็จยิ่งๆ ขึ้น และสร้างรายได้อย่างน่าพอใจในที่สุด

เริ่มต้นธุรกิจขนาดเล็ก.......คุณทำได้ ++++

แน่นอนที่ว่าใครหลายๆ คนต่างต้องการเป็นเจ้านายตัวเอง การมีธุรกิจเป็นของตนเองจึงเป็นจุดมุ่งหมายในการดำเนินชีวิตของพวกเขาด้วย หลายคนในจำนวนนั้นศึกษาหาข้อมูล วางเป้าหมายและกระโจนลงสู่ความท้าทายของการทำธุรกิจส่วตัว แต่ขณะเดียวกันก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังขาดความมั่นใจในการเริ่มต้น ยังคงอยู่ในช่วงค้นคว้ารวบรวมข้อมูล รวมไปถึงรวบรวมกำลังใจและกำลังเงินในการเริ่มต้นกับธุรกิจแรกของพวกเขา
แนนอนว่าการเริ่มต้นมักท้าทาย แต่ในขณะเดียวกันก็ช่างน่าหวาดหวั่น ดังนั้นการเริ่มต้นจากการรวบรวมข้อมูลให้ครบทุกด้านจึงถูกต้องแล้ว ....แต่จงจำไว้อย่างหนึ่งว่าการได้ลองเริ่มต้นเท่านั้นจึงจะบอกได้ว่าสิ่งที่เราได้ทำนั้นสำเร็จจริงหรือไม่ ...จงอย่ากลัวที่จะเริ่มต้น ...เก็บรวมรวมข้อมูลทำได้เพื่อเพิ่มความมั่นใจไม่ใช่เพื่อเพิ่มความหวาดหวั่น
SMEs Can Do ขอเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการนำข้อมูลการเริ่มต้นทำธุรกิจขนาดเล็ก - เล็กมาก ^^ มาให้แก่ผู้อ่าน โดยนำจากประสบการณ์การทำธุรกิจขนาดเล็กของตนเองและครอบครัวมากว่า 20 ปีมาเป็นข้อมูลแก่เพื่อนๆ และหวังว่าผุ้อ่านจะนำข้อมูลที่ได้ไปปรับใช้กับธุรกิจของตนเองให้ประสบผลสำเร็จยิ่งๆ ขึ้น และสร้างรายได้อย่างน่าพอใจในที่สุด


SMEs Can Do